เทคนิคการใช้ Motion blur กับภาพถ่ายแนว Street Photography

   

 คงไม่บ่อยนักที่เราคิดจะถ่ายภาพนิ่งให้ดูเหมือนมีการเคลื่อนไหวในภาพ แต่ถ้าทำได้ถูกต้องภาพของคุณจะโดดเด่นขึ้นมาทันที แม้ว่าการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ นั้นจะค่อนข้างยากสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ แต่ถ้ามีความอดทนและอุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วคุณก็สามารถถ่ายภาพที่มี Motion blur ได้

 

 

การทำให้เกิด Motion Blur ด้วยการถ่ายภาพมี 2 วิธีคือ

1. การให้วัตถุเคลื่อนที่ผ่านขณะที่ตั้งกล้องไว้เฉยๆ
2. การเคลื่อนกล้องตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ (Panning)

 

ก่อนที่คุณจะออกไปถ่ายภาพ คุณต้องมีอุปกรณ์ดังนี้

  • กล้องและเลนส์
  • ขาตั้งกล้อง
  • ฟิลเตอร์ ND (ถ้ามี)
  • ความอดทน!!!

 

     การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆแบบนี้ความนิ่งและความสมดุลของกล้องถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้นขาตั้งกล้องจึงเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการถ่ายภาพประเภทนี้ ส่วนฟิลเตอร์ ND นั้นจะทำหน้าที่เหมือนแว่นกันแดดของกล้อง ฟิลเตอร์ ND ช่วยลดปริมาณแสงที่จะเข้ามาในกล้องทำให้คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆได้แม้จะถ่ายตอนกลางวันนั้นเอง

 

 

การตั้งค่าการถ่ายภาพ

 

     อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าการทำให้เกิด Motion blur นั้นมี 2 วิธี ซึ่งจะมีการตั้งค่าคล้ายๆกันนั่นก็คือการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โดยโหมดการใช้งานที่เหมาะสมควรจะเป็นโหมด S, Tv, หรือ M ในกรณีที่ใช้โหมด S หรือ Tv กล้องจะเลือกค่ารูรับแสง (ค่า f) ให้เอง คุณมีหน้าที่เลือกใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เช่น 1/8 วินาที 1/13 วินาที เป็นต้น การเกิด Motion blur จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ยิ่งวัตถุมีความเร็วมาก ก็จะเกิดเส้นการเบลอที่ยาวนั้นเอง ดังนั้นไม่มีค่าตายตัวสำหรับการตั้งความเร็วชัตเตอร์ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วการเคลื่อนที่ของวัตถุในภาพ ส่วนการตั้งความไวแสง (ISO) นั้นก็ให้ตั้งไว้ที่ค่าต่ำๆ สำหรับโหมด M ก็ให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ กับค่าความไวแสงต่ำ (ISO) เช่นกัน แต่คุณต้องปรับค่า f เพิ่มอีกอย่าง โดยส่วนตัวจะให้ใช้ค่า f เริ่มต้นที่ f 7.1 เป็นต้นไปจนถึง f16 เพื่อให้เกิดความชัดลึกครอบคลุมไปจนถึงฉากหลังของภาพให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การเปิดรูรับแสงแคบๆด้วยค่า f ดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณแสงทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆได้ดีอีกด้วย

 

 

 

     การสร้าง Motion blur แบบที่ 1 คือการตั้งกล้องไว้แล้วให้วัตถุเคลื่อนที่ผ่านหน้ากล้องไป ภาพที่ได้ฉากหลังจะชัดมีเพียงวัตถุที่เคลื่อนที่เท่านั้นที่เบลอ ยิ่งวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านมีความเร็วมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้เส้นการเบลอที่ยาวและสวยงามมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ช้าได้เส้นการเบลอที่สั้นเกินไป สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงอีกเพื่อให้เส้นการเบลอยาวขึ้นนั้นเอง

 

 

 

     การสร้าง Motion blur แบบที่สองคือการแพนกล้องตามทิศทางของวัตถุที่เคลื่อนที่ไป ภาพที่จะได้คือฉากหลังจะเบลอเป็นเส้น แต่วัตถุที่แพนกล้องตามจะยังมีความคมชัดอยู่ คุณควรแพนด้วยการติดตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องเพื่อลดการสั่นไหวในแนวดิ่ง ข้อควรระวังคือความเร็วในการแพนกล้องต้องสัมพันธ์กับความเร็วการเคลื่อนที่วัตถุ ถ้าแพนเร็วหรือช้าไป ภาพอาจจะเบลอไปทั้งภาพ

 

 

การใช้ฟิลเตอร์ ND เพื่อลดแสง ช่วยให้ถ่าย Slow-speed ในช่วงกลางวันได้

 

     การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆทำให้เกิด Motion Blur ในภาพ เปลี่ยนจากการถ่ายภาพนิ่งให้กลายเป็นภาพนิ่งที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนจากภาพธรรมดาให้กลายเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจกับเส้นการเบลอที่ทรงพลังได้ เพียงแค่คุณต้องมั่นฝึกฝนและมีความอดทนในการถ่ายภาพเท่านั้นเอง


via iso.500px.com/master-motion-blur-street-photography/

 

Back to top