การตั้งค่ากล้อง “ถ่ายภาพ Landscape” ให้ออกมาน่าประทับใจ!

ใกล้ปลายปีเข้ามาทุกที! เชื่อว่าหลายคนจะต้องอวดโมเม้นท์เที่ยวลงโซเชียลอย่างแน่นอน อย่างภาพ Landscape เป็นภาพที่ไม่ว่าจะวัยไหน ๆ ก็ต้องชอบ เลยได้เอาทริคเล็กๆ ในการตั้งค่ากล้องเพื่อถ่าย Landscape มาฝากทุกคนได้เอาไปใช้ และถ่ายรูปให้น่าประทับใจกว่าเดิม!

เข้าใจโหมดกล้อง

กล้องในปัจจุบันมีหลายโหมดให้เลือกใช้ ตอบโจทย์การถ่ายภาพที่หลากหลาย ในโหมด Automatic เชื่อว่ามือใหม่หลาย ๆ คน ต้องคุ้นชินอย่างแน่นอน ถ้าเราอยากได้ภาพ Landscape ซักรูป เพียงเรากดชัตเตอร์ ก็จะได้ภาพสวยๆ เพราะกล้องจะทำการตั้งค่า รูรับแสง, ISO และความเร็วชัตเตอร์ให้เลย

Cr. Julius Silver, Andrea Piacquadio

มาต่อกันที่โหมด Manual ในโหมดนี้สำหรับคนที่คุ้นชินกับกล้องแล้ว จะสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้เอง ไม่ว่าจะเป็น รูรับแสง, ISO และความเร็วชัตเตอร์ ถึงแม้ว่าอาจจะต้องเข้าใจในการตั้งค่าซักหรน่อย แต่เราก็จะได้ภาพตามที่เราต้องการ

Cr. Pixabay

โหมด Aperture priority เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน แต่ยังไม่เคยลองใช้ โหมดนี้จะสามารถตั้งค่ารูรับแสง และ ISO ได้เท่านั้น เราจะเป็นคนควบคุมความมืด - สว่างของภาพได้เอง แต่กล้องจะตั้งค่าและคำนวนความเร็วชัตเตอร์ให้

ต้องเข้าใจโหมดกล้องหลัก ๆ ก่อน ไม่งั้นงงแน่นอนว่าโหมดไหนทำอะไรได้บ้าง แนะนำสำหรับมือใหม่ โหมด Automatic และค่อยๆ ไปที่โหมดอื่นๆที่สามารถตั้งค่าเองได้ เพราะจะทำให้เราได้ภาพที่ต้องการมากที่สุด

 

ค่ารูรับแสง, ISO และความเร็วชัตเตอร์ สำหรับถ่าย Landscape

พื้นฐานความสัมพันธ์แสง หรือที่เรียกว่า exposure triangle ที่ทุกคนควรต้องรู้ รูรับแสง (Aperture), ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) และ ความไวแสง (ISO) ที่ในภาพ Landscape หรือภาพแบบอื่นก็ต้องใช้

Cr. Pixabay, Pixabay

เริ่มกันที่ รูรับแสง (Aperture) เป็นหลักสำคัญในการถ่าย Landscape เพราะจะเป็นตัวควบคุมความคมชัด ชัดลึกของภาพ อย่างการใช้รูรับแสงที่เล็ก จะสามารถสร้างเอฟเฟกต์แสงให้กับภาพได้

Cr. Paul IJsendoorn

ภาพ Landscape ส่วนใหญ่จะโฟกัสและคมชัดทั้งภาพ ถ้าตั้งค่ารูรับแสงไม่สัมพันธ์กับสถานการณ์ก็อาจจะทำให้ภาพเบลอ แนะนำให้ใช้ค่ารูรับแสงระหว่าง F8 และ F11 หรือโดยปกติแล้วรูรับแสงที่คมชัดที่สุดของเลนส์จะลดลง 3 สต็อปจากรูรับแสงที่กว้างที่สุด ซึ่งคำแนะนำนี้เป็นแนวทางในการตั้งค่าได้ แต่ก็ต้องปรับไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย และในเคสที่มีภาพอาจจะเกิด foreground เราจะต้องแก้ด้วยการเปิดค่ารูรับแสงให้แคบ ประมาณ F8 หรือแคบกว่านั้นก็ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดทั้งภาพ

Cr. Kyle Roxas, Alberlan Barros

มาต่อกันที่ ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) สามารถเปลี่ยนสไตล์ของภาพได้เลย ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงจะได้ภาพที่คมชัด แต่ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะได้ภาพที่มีความคมชัดซอฟต์ลง ถ้าอยากได้ภาพไฟเป็นเส้น หรือเรียกว่าเทนนิค long exposure จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ค้างเป็นเวลานานหน่อย ก็จะได้ภาพแสงสวยๆ

Cr. Rahul

และสุดท้ายกับการตั้งค่า ความไวแสง (ISO) สามารถปรับให้ภาพสว่างหรือมืดได้ อย่างการใช้ ISO สูง จะทำให้ได้ภาพสว่าง แต่อาจจะลดคุณภาพของภาพลง ดังนั้นเราไม่ควรตั้ง ISO ให้สูงไปเลยทีเดียว ให้ค่อยๆปรับ ให้เข้ากับแสงในรูป

ในส่วนของการถ่ายภาพ Landscape ถ้าอยากให้ได้ภาพที่มีคุณภาพคมชัด อาจจะต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการปรับค่า ISO สูงๆ ในเวลากลางคืนหรือที่แสงน้อย อาจจะทำให้ภาพเบลอได้ ถ้ามือไม่นิ่งพอ อย่างเช่นการถ่ายภาพหมู่ดาว อาจจะต้องใช้ ISO สูงถึง 12600 หรือมากกว่านั้น

 

ตั้งค่าการโฟกัส

Cr. Mike van Schoonderwalt

การตั้งค่าการโฟกัสตอนถ่าย Landscape จะตั้งออโต้โฟกัส หรือแมนนวลโฟกัสก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือความพอใจของแต่ละคน

สำหรับมือใหม่ การใช้ออโต้โฟกัสเป็นทางเลือกที่ดี เรียนรู้การใช้งานและให้ชินกับการทำงานกล้องก่อน ดังนั้นเราจะต้องตั้งค่าเป็น single-point focus โดยที่กล้องจะใช้จุดโฟกัสอัตโนมัติจุดเดียวเพื่อให้ได้โฟกัสที่เหมาะสม จากนั้นจัดเฟรม กดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อดูจุดโฟกัส

Cr. Charles Parker

ส่วนแมนนวลโฟกัส จะได้ภาพที่คมชัดและโฟกัสได้ตามที่ต้องการ แต่จะต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยด้วย และถ้าใช้คู่กับเลนส์ที่มีกันสั่นในตัวจะต้องแน่ใจว่าปิดไว้อยู่ ให้ตั้งค่าเลนส์เป็นแมนนวลโฟกัส ให้ใช้ริงโฟกัสในการโฟกัสเอง จากนั้นเข้าฟังก์ชั่น Live View ในกล้อง พร้อมใช้ฟังก์ชั่นนี้ซูมไปที่คอมโพสที่ต้องการ และใช้ริงโฟกัส ปรับโฟกัสให้ชัดตามต้องการ เช็คเฟรมอีกทีและกดถ่ายได้เลย

การตั้งค่า White balance

Cr. Julia Khalimova

การตั้งค่า White balance เป็นการตั้งค่าที่สำคัญสำหรับการ Landscape ซึ่งสามารถตั้งค่าแบบแมนนวลและแบบอัตโนมัติ

ตั้งค่า White balance แบบอัตโนมัติ กล้องจะคำนวนและปรับ White balance ให้ เราก็จะได้ภาพตามที่กล้องคำนวนออกมา และกล้องยังมี presets สำหรับ White balance อย่างแสงอุ่นและแสงเย็นเช่นเวลาถ่ายเมืองตอนกลางคืน ถ้าอยากให้ภาพของดูเย็นลง จะช่วยลดแสงสีส้มจากแสงไฟได้

และการตั้งค่า White balance แบบแมนนวล ในกล้องจะมีค่า White balance ตั้งแต่ประมาณ 2500K ถึง 15000K ยิ่งค่าเคลวินต่ำลง จะได้ภาพที่มีสีเย็นลง หรือปรับสูงขึ้นภาพก็จะอุ่นมากขึ้น แต่ในส่วนการตั้งค่า White balance แบบแมนนวล จะต้องเล็งกล้องไปที่พื้นที่สีเทาหรือสีขาว แล้วถ่ายรูปเพื่อให้กล้องจัดสีในตัวกล้องให้ถูกต้อง

วันหยุดนี้! ไปเที่ยวแล้วอวดภาพสวย ๆ ลงโซเชียลกันดีกว่า แล้วอย่าลืมเอาทริคการตั้งค่ากล้อง สำหรับใครที่ต้องการให้ภาพวิวทิวทัศน์น่าประทับใจยิ่งขึ้น ไปลองปรับใช้กันดู รับรองว่าภาพจะสวยขึ้นแน่นอน!

Cr. The Best Landscape Photography Settings: A Guide

Back to top