9 เคล็ดลับ ถ่ายภาพกลางคืนให้สวยแบบมืออาชีพ

การถ่ายภาพตอนกลางคืนหรือที่แสงน้อย นับว่าเป็นปัญหาสำหรับนักถ่ายภาพหลายคน อยากจะถ่ายรูปสวยๆ เก็บไว้ตอนกลางคืนแต่มักจะเจอปัญหารูปเบลอ หรือรูปมืดเกินไป ทำให้เราไม่สามารถเห็นรายละเอียดของภาพได้อย่างที่ต้องการ แต่สิ่งเหล่านี้เพียงเราฝึกฝนและใส่เทคนิคลงไป เพียงแค่นี้เราก็จะมีภาพถ่ายตอนกลางคืนอย่างสวยงามได้แน่นอน

ใครที่กำลังมองหาไอเท็มในการถ่ายภาพ Big Camera ก็มี 8 ไอเท็มเด็ดที่ช่างภาพกลางคืนต้องมี มานำเสนอ

 

1. ถ่ายภาพโหมดแมนนวล (Manual Mode)

ใช้โหมดแมนนวล (Manual) เสมอเมื่อถ่ายภาพในตอนกลางคืน เพราะเราสามารถปรับตั้งค่าได้อย่างอิสระ โดยตั้งค่า ISO ให้เหมาะสม ไม่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ รวมถึง Shutter Speed และ รูรับแสง (F-Stop) ต้องปรับตั้งค่าให้เหมาะกับกับสถานการณ์ในตอนนั้นหรือปรับตั้งค่าตามภาพที่เราต้องการ หากใช้โหมดอัติโนมัติจะทำให้เราควบคุมภาพถ่ายตามที่เราต้องการได้ยาก

cr. Alexander Popov

 

2. ใช้ขาตั้งกล้องช่วยให้ถ่ายภาพคมชัด ไม่เบลอ

ซึ่งการถ่ายภาพตอนกลางคืนหรือที่แสงน้อย เราอาจจะต้องใช้การตั้งเวลาในการถ่ายภาพหรือถ่ายโดยการเปิดม่านรับแสงนานๆ ทำให้เราไม่สามารถถือกล้องภาพได้ เพราะอาจจะทำให้ภาพที่ออกมาเบลอ ขาตั้งกล้องจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของการถ่ายภาพกลางคืนที่จะช่วยให้กล้องไม่สั่น ภาพที่ถ่ายออกมาคมชัด

cr. Christina Harman

 

3. ปิดกันสั่นกล้องและเลนส์ เมื่อใช้ขาตั้งกล้อง

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราต้องปิดกันสั่น เพราะว่ากันสั่นจะใช้งานได้ดีเมื่อไม่อยู่บนขาตั้งกล้อง เมื่อเราเปิดกันสั่นทิ้งไว้ มันจะหน้าที่โดยการพยายามขยับตัวตลอดเวลา ทำให้ภาพที่ออกมาไม่คมชัด ดังนั้นเราควรปิดกันสั่นทุกครั้งเมื่อใช้ขาตั้งกล้อง!

cr. Ryan Hutton

cr. John Rodenn Castillo

 

4. ฝึกปรับความเร็วชัตเตอร์ทุกครั้งหลังจากถ่ายภาพ

เพื่อให้ภาพของเราดีขึ้นในทุกครั้งที่ถ่าย เราควรจะต้องฝึกฝน ปรับปรุงฝีมือการถ่ายภาพอยู่เสมอ
บางครั้งเราจะได้ภาพที่มือเกินไป อาจจะต้องแก้ไขด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง หากได้ภาพที่สว่างเกินไปต้องแก้ไขให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น เราจะสังเกตได้ว่านักถ่ายภาพส่วนมากจะคอยปรับการตั้งค่ากล้องอยู่ตลอด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายออกมาดีที่สุด

cr. Roozbeh Rokni

 

5. ใช้โฟกัสแมนนวล (MF) หากล้องมีปัญหาโฟกัสในที่แสงน้อยไม่ได้

อีกหนึ่งปัญหาที่จะพบบ่อยในการถ่ายภาพตอนกลางคืน คือระบบโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ไม่โฟกัส
เราสามารถเปลี่ยนมาเป็นโฟกัสแบบแมนนวลหรือเรียกง่ายๆ ว่า ‘หมุนเลนส์ด้วยมือ’

cr. discoverdigitalphotography

 

6. หากถ่ายภาพวัตถุตอนกลางคืน อาจเพิ่มแฟลชเข้าไปเติมแสงบ้าง

ภาพถ่ายเวลากลางคืนส่วนใหญ่มักเป็นภาพทิวทัศน์เมือง แสงไฟ แต่หากเราถ่ายภาพวัตถุหรือบุคคลอาจจะใช้แสงแฟลชเข้าช่วย เพื่อเพิ่มรายละเอียดให้ภาพออกมาคมชัด สวยงาม โดยเลือกปรับแสงแฟลชตามความเหมาะสมของภาพ แต่อย่ายิงแฟลชแบบตรงๆ นะ ไม่งั้นฉากหลังจะมืดไปหมด!

cr. Misael Garcia


7. ถ่ายภาพให้ดูมีการเคลื่อนไหว

เพิ่มการเลื่อนไหวลงในภาพของคุณ ด้วยวิธีถ่ายภาพโดยลดความเร็วชัตเตอร์ลงเพื่อเปิดรับม่านชัตเตอร์และรับแสงเข้ากล้องได้นานขึ้น ให้เราสามารถได้ภาพถ่ายเป็นเส้นของแสง เราดูมีมิติมากขึ้น

cr. Vailancio Rodrigues

 

8. วางแผนการถ่ายภาพ

สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพคือการวางแผนมาก่อนเสมอ ต้องรู้ว่าช่วงเวลาไหนกับเหมาะกับการถ่ายแบบไหน เช่น ภาพถ่ายตอนกลางคืน เริ่มถ่ายตอนค่ำๆ ตึกเริ่มเปิดไฟสว่าง เพื่อให้เราจับภาพได้ง่าย และนอกจากนี้เราต้องรู้ว่าควรใช้การตั้งค่าแบบใดเพื่อให้ภาพออกมาสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นเราควรทำการบ้านเตรียมตัวมาก่อน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดหน้างานได้

cr. Lerone Pieters


9. ระวังการเปิดรับแสงมากเกินไป

เช็คภาพทุกครั้งหลังถ่ายให้แน่ใจว่าเราได้ตั้งค่าเหมาะสมกับช่วงเวลากลางคืนแล้ว เพื่อให้ภาพออกมาดูดีที่สุด หากเราเปิดรับแสงมากเกินไป อาจทำให้ภาพดูเหมือนว่าถ่ายตอนกลางวันได้ ต้องคอยระวังกันด้วย

cr. evening_tao

cr. Susan Fleming Morgans

และนี่ก็คือเคล็ดลับสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ แค่คุณนำเคล็ดลับเล่านี้ไปใช้ก็ทำให้คุณได้ภาพกลางคืนที่สมบูรณ์แบบสวยได้แบบฉบับมืออาชีพแล้ว! ลองหยิบกล้องแล้วออกไปสนุกกับการถ่ายภาพตอนกลางในดูนะ

ที่มา : contrastly.com

Back to top