เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบสำหรับมือใหม่

 

การจัดองค์ประกอบถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ยากของการถ่ายภาพ เนื่องจากภาพของเราจะดูโดดเด่นหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากการจัดองค์ประกอบที่ดีด้วย แต่การจัดองค์ประกอบภาพนั้นย่อมไม่ได้มีกฎตายตัวแน่นอน และนี่คือเทคนิคในการจัดองค์ประกอบภาพที่มือใหม่ควรรู้

 

 

กฎสามส่วน

 

กฎสามส่วนเป็นกฎพื้นฐานที่ช่างภาพมักนึกถึงเป็นอันดับแรกในการจัดองค์ประกอบ และคนส่วนมากก็รู้จัก ซึ่งจะทำให้ภาพของคุณดูสมดุลและน่าสนใจ ฟังก์ชั่นกฎสามส่วนนี้จะช่วยแบ่งภาพของคุณเป็นเก้าช่องเท่าๆ กันตามแนวนอนและแนวตั้ง จากนั้นเราจะวางตัวแบบไว้ที่จุดตัดระหว่างเส้น ซึ่งเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจของผู้ที่ชมภาพอยู่

 

 

 

เส้นนำสายตา

 

 

เส้นนำสายตาจะช่วยดึงดูดสายตาของผู้ชมให้มองไปทั่วทั้งเฟรมภาพ และยังเป็นตัวช่วยที่นำสายตาไปสู่ตัวแบบหลัก นอกจากนี้เส้นก็ยังสามารถเป็นตัวแบบหลักในภาพด้วย และไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงอย่างเดียว อาจจะเป็นเส้นซิกแซกหรือเส้นโค้งก็ได้

 

 

ความสมดุล

 

ภาพที่มีความสมดุลก็คือการจัดองค์ประกอบที่มีน้ำหนักเท่ากันทั่วทั้งเฟรมภาพ ซึ่งการวางตัวแบบไว้ตรงกลางเฟรมภาพ หรือวางไว้ทั้งสองด้านของภาพก็ทำให้มีความสมดุล ยกตัวอย่างภาพที่ไม่มีความสมดุล เมื่อเราวางตัวแบบหลักไว้ด้านใดด้านหนึ่งของเฟรมภาพ แต่พื้นที่ว่างอีกด้านกลับไม่มีสิ่งน่าสนใจ ก็ทำให้ภาพไม่สมดุล จึงควรวางตัวแบบอื่นไว้อีกด้านหนึ่งด้วย

 

 

Pattern

 

 

Pattern หรือการซ้ำกันของรูปร่างหรือสี ซึ่งในทุกวันรอบตัวเราเจอ pattern เกือบทุกที่ เช่น กลีบดอกไม้ ระลอกคลื่น แม้แต่สไตล์อาคารก็สามารถเป็น pattern ได้ ซึ่ง pattern นั้นช่วยดึงดูดสายตาและช่วยให้ภาพน่าสนใจ

 

 

Photo by Loic Djim on Unsplash

 

 

 ฉากหน้า

 

 

ฉากหน้าเป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับกล้องของคุณมากที่สุด วัตถุที่อยู่ฉากหน้าก็จะเป็นประโยชน์ในการดึงดูดสายตาของผู้ที่ชมภาพ และช่วยให้ภาพดูมีมิติ ยกตัวอย่าง สามารถจัดองค์ประกอบให้ก้อนหินหรือผู้คนอยู่ที่ฉากหน้า และถ้าอยากให้ฉากหน้ามี dramatic มากขึ้น ก็ลองใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายภาพ เพราะจะช่วยให้สิ่งที่อยู่ใกล้กับกล้องใหญ่ขึ้นและดูเด่นขึ้น

 

 

ฉากหลัง

 

 

 

ฉากหลังก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ด้านหลังตัวแบบและมักปรากฎให้เห็นในภาพ ที่สำคัญคือควรระวังไม่ให้ฉากหลังรกหรือมีัวัตถุเยอะเกินไป หรือระวังว่าวัตถุที่อยู่ฉากหลังจะกลมกลืนไปกับตัวแบบหลักในภาพ ทำให้ผู้ที่ชมภาพอยู่ไม่รู้ว่าจะมองสิ่งไหนในภาพ และภาพจะน่าเบื่อได้มีสองวิธีที่จะจัดองค์ประกอบฉากหลังให้ดูดี โดยวิธีแรกเราสามารถถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้าง (fเลขน้อยๆ) เพื่อเบลอฉากหลังที่ไม่จำเป็นออก ตัวแบบจะได้เด่นขึ้น และอีกวิธีหนึ่งคือครอปภาพเพื่อกำจัดองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกไป

 

Photo by Anthony Intraversato on Unsplash

 

 

เติมให้เต็มเฟรมภาพ

 

การทำให้เต็มเฟรมภาพไม่ได้หมายถึงการทำให้มีตัวแบบให้มากเท่าที่จะทำได้ แต่มีตัวแบบหลักในภาพน้อยๆ เพื่อดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งเราสามารถเติมเต็มภาพด้วยตัวแบบ โดยไม่ให้มีพื้นที่ว่างรอบๆ หรือเหลือน้อยก็ได้ โดยใช้การซูมเข้าไปหาตัวแบบหรือเข้าไปถ่ายใกล้ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีครอปบางส่วนที่ไม่ต้องการออกก็ได้

 

Photo by Alexandru Zdrobău on Unsplash

 

 

พื้นที่ว่างเชิงลบและ Minimal

 

Photo by Scott Webb on Unsplash

 

ถ้าเราใช้การจัดองค์ประกอบโดยพื้นที่ว่างเชิงลบหรือ Negative space อาจทำให้ภาพไม่สมดุล แต่จะทำให้ภาพของคุณโดดเด่น หลักง่ายๆ คือวางตัวแบบหลักลงบนพื้นหลังโล่งๆ คลีนๆ เช่น ท้องฟ้า หรือน้ำนิ่ง หรือจะใช้รูรับแสงกว้างเพื่อเบลอฉากหลังก็ได้

สิ่งที่มือใหม่หลายคนมักเข้าใจผิดคือการถ่ายภาพโดยพยายามยัดทุกอย่างลงไปในเฟรมเดียว จนองค์ประกอบในภาพนั้นเยอะเกินไป ทำให้ตัวแบบไม่เด่น และทำให้ผู้ชมภาพละความสนใจจากภาพได้

 

 

ตีกรอบให้ตัวแบบ

 

มาถึงอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยสร้างมิติให้ภาพของคุณ โดยใช้การตีกรอบให้ตัวแบบ เพื่อดึงดูดสายตาของผู้ชมภาพ และทำให้ตัวแบบโดดเด่น ส่วนมากจะใช้ในการถ่ายภาพ Landscape โดยให้มีต้นไม้หรือกิ่งไม้อยู่บริเวณขอบเฟรมภาพเพื่อเป็นการตีกรอบให้ตัวแบบที่อยู่ตรงกลางภาพ แต่ไม่จำเป็นต้องตีกรอบทุกๆ ด้านของเฟรมภาพ

 

Photo by Luca Bravo on Unsplash

 

 

มุมมอง

 

มุมมองก็คือที่ที่คุณตัดสินใจจะถ่ายภาพนั่นเอง อาจจะเป็นข้างบน ข้างล่าง หรือระดับสายตาก็ได้ ซึ่งบางคนก็จะเข้าใจผิดๆ กันว่าเราต้องถ่ายภาพที่ระดับสายตาเท่านั้น เพราะมีความเป็นธรรมชาติและง่ายที่สุด

 

 

การตัดสินใจเลือกถ่ายภาพจากมุมต่ำหรือมุมสูง จะทำให้มุมมองของภาพนั้นต่างจากระดับสายตา และทำให้น่าสนใจมากกว่า ยกตัวอย่าง การถ่ายภาพสัตว์จากระดับสายตาของเรา อาจดูธรรมดาและน่าเบื่อจนเกินไป ให้ลองก้มต่ำๆ หรือถ่ายจากระดับสายตาเดียวกับสัตว์เหล่านั้นก็ได้

 

 

ที่มา contrastly.com

Back to top