ฝึกสกิลใหม่กับการถ่ายภาพ Long Exposure หรือ เทคนิคการถ่ายภาพโดยเปิดความเร็วชัตเตอร์ค้างไว้เป็นเวลานาน ใช้ได้กับภาพหลากหลายแนว เช่น ถ่ายแสงไฟรถยนต์ที่วิ่งในตอนกลางคืน, ถ่ายภาพการเคลื่อนตัวของคลื่นน้ำ หรือ การถ่ายภาพท้องฟ้าและก้อนเมฆ เพื่อให้ได้ภาพที่นุ่มนวล สมูธสวยงามและมีมิติ จะมีเคล็ดลับอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
Cr. Kyle Roxas ,Pok Rie , Lucas Prado
1. ความนิ่งของกล้อง
เพราะการถ่ายภาพ Long Exposure เราจะต้องเปิดชัตเตอร์ไว้นานหน่อย สิ่งที่ควรระวังคืออาจจะทำให้ภาพไม่ชัด เบลอหรือสั่นไหวได้ขณะถ่าย และแน่นอนว่าแม้เราจะถือกล้องไว้แค่ไหน ก็ยังคงไม่นิ่งพอที่จะทำให้ภาพชัดแบบเต็มภาพได้ จึงต้องมีตัวช่วยในการถ่ายภาพ โดยมีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ขาตั้งกล้องและสายกดชัตเตอร์ หรือการควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ
ขาตั้งจะช่วยรองรับน้ำหนักของกล้องไว้ ส่วนสายกดชัตเตอร์หรือแอปฯ จะช่วยให้เราไม่ต้องกดปุ่มชัตเตอร์บนกล้อง เพราะถ้าเรากดเองแล้ว อาจจะเกิดการสั่นสะเทือนและส่งผลให้ภาพเบลอได้
2. องค์ประกอบของภาพ
Cr. Vishal Shah , Quang Nguyen Vinh , Sigurd Brown
การถ่ายภาพ Long Exposure สิ่งสำคัญคือองค์ประกอบของภาพ ที่เราจะต้องโฟกัสภาพทั้งภาพ ไม่ควรโฟกัสองค์ประกอบแค่จุดๆ เดียวเท่านั้น เพราะการที่เราโฟกัสเพียงจุดเดียวนั้นจะทำให้ภาพที่ออกมาสื่อสารไม่ได้ตรงจุด และไม่รู้ว่าเราจะหยุดความเคลื่อนไหวอะไร ถ้าขาดองค์ประกอบทั้งหมดในภาพไป ดังนั้นเราจะต้องหาองค์ประกอบรอบๆ สถานที่ที่จะถ่ายภาพ การถ่ายโดยมีวัตถุที่ฉากหน้าจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพถ่ายได้
3. การตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO
Cr. Alex Chistol , Pok Rie
การถ่ายภาพ Long Exposure คือการตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ให้นาน เลยทำให้แสงเข้ามามากว่าปกติ เราเลยต้องมาตั้งค่ารูรับแสงและค่า ISO เพื่อให้แสงในภาพไม่สว่างเกินไป ลดปริมาณที่เข้ามาในภาพที่มากเกินความจำเป็ร จึงจะตั้งค่ารูรับแสงให้แคบลง พร้อมตั้งค่า ISO ให้น้อยลงด้วย
4. การโฟกัส
Cr. Ian Beckley , zoe pappas
อย่างที่บอกไปว่าการถ่าย Long Exposure จะต้องชัดทั้งภาพ เลยต้องทำให้แน่ใจว่าเวลาโฟกัสต้องชัดทั้งภาพ โดยเราอาจจะใช้การโฟกัสแบบ Manual หรือแบบอัตโนมัติก็ได้
ใครที่อยากพัฒนาสกิล อยากถ่ายภาพแบบใหม่ๆบ้าง ก็อย่าลืมเอาเคล็ดลับการถ่ายภาพ Long Exposure ไปปรับใช้ดู รับรองว่าเคล็ดลับเล็กๆนี้จะช่วยให้การถ่ายภาพของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน