เทคนิคการถ่ายภาพ Landscape หรือ ถ่ายวิวทิวทัศน์ คือ การให้ความสำคัญกับการวางองค์ประกอบ และแสง ไปดูกันว่าเทคนิคที่จะทำให้ได้ภาพ Landscape ตามต้องการ จะมีอะไรบ้าง
โหมดสำหรับถ่ายภาพ Landscape
Cr. PublicDomainPictures / 17902 images
แนะนำให้ใช้โหมด M หรือ Manual จะสามารถควบคุมการตั้งค่าทุกอย่างของกล้อง เพราะการถ่ายภาพขึ้นอยู่กับสภาวะแสง ซึ่งแน่นอนว่าแสงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องคอยปรับให้ได้แสงที่ต้องการ และใช้การโฟกัสแบบ Manual Focus เพราะถ้าใช้ Auto Fous ตัวกล้องจะหาโฟกัสใหม่ทุกครั้งที่กดชัตเตอร์
Cr. www.freepik.com
ส่วนการตั้งค่าถ่ายภาพ Landscape จะเริ่มที่จะตั้งค่า ISO ต่ำ ประมาณ ISO 100 เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดี ไม่เกิด noise ไม่ต้องกังวลว่าแสงน้อยจะทำให้ภาพมืด เพราะเรื่องความสว่าง จะไปปรับส่วนของสปีดชัตเตอร์ต่ำๆ ให้ภาพสว่างได้
อย่างที่บอกไปว่าจะใช้ ISO ต่ำ เพื่อให้ภาพไม่เกิดจุด หรือ noise สำหรับใครที่ถ่ายตอนเย็นๆ หรือในสภาพแสงน้อยมากๆ จะต้องมาปรับชัตเตอร์สปีดให้ต่ำลง ยิ่งต่ำลงเท่าไหร่ แสงก็จะเข้ามาเยอะ ทำให้ภาพสว่างมากขึ้น
สำหรับค่า f หรือรูรับแสง ส่วนใหญ่แล้วภาพ Landscape จะนิยมภาพที่ชัดทั้งภาพ ค่า f จะแคบ อยู่ประมาณที่ f8 ขึ้นไป
ส่วนการถ่าย Landscape ในที่แสงน้อยหรือตอนกลางคืน แนะนำให้พกขาตั้งกล้องไปด้วยเลย และถ้าใช้ขาตั้งกล้องแล้ว ก่อนกดชัตเตอร์ ให้ปิดกันสั่นกล้อง (Image Stabilizer) ด้วย เพราะถ้าเปิดไว้ตลอด ก็อาจจะทำให้ภาพสั่นได้ จากนั้นปรับค่า ISO ต่ำๆ ประมาณ 100-200 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด noise
Cr. Hristo Fidanov, Pixabay
ในเรื่องความเร็วชัตเตอร์เวลาถ่ายตอนกลางคืน จะเกี่ยวข้องกับทางยาวโฟกัสของเลนส์ และขนาดเซ็นเซอร์กล้อง ดังนั้นถ้าถ่ายในที่แสงน้อยหรือตอนกลางคืน จะใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่ากับทางยาวโฟกัส เพื่อให้ภาพไม่เบลอ ซึ่งมีสูตรคำนวนตามนี้
สูตรหาความเร็วชัตเตอร์
1/ทางยาวโฟกัส
เริ่มจากหาทางยาวโฟกัสก่อน อิงจากสูตร ทางยาวโฟกัส x Crop factor = ทางยาวโฟกัส
- ทางยาวโฟกัส x 1 = Full Frame
- ทางยาวโฟกัส x 1.5 = APS-C (Sony, Fujifilm, Pentax)
- ทางยาวโฟกัส x 1.6 = APS-C (Canon)
- ทางยาวโฟกัส x 2 = M4/3 (Olympus, Panasonic, Blackmagic)
- ทางยาวโฟกัส x 2.7 = Sensor ขนาด 1” (Sony RX100, Nikon 1)
จากนั้นเอาทางยาวโฟกัสที่ได้ ไปใส่ใน 1/ ทางยาวโฟกัส เช่น เลนส์ 23mm ใส่ในกล้อง APS-C เข้าสูตร 23x1.5= 35mm ก็จะได้ความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/35 แต่ตัวเลข 35 ไม่มีในความเร็วชัตเตอร์ ให้ปัดเป็น 1/30 ดังนั้นความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องใช้คือ 1/30
ส่วนค่ารูรับแสงในที่แสงน้อย เพื่อให้ได้แสงสว่างเพียงพอกับการถ่ายภาพ คือ การเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซึ่งเลข f จะน้อย ประมาณ f2.8 ทำให้แสงเข้ากล้องได้มากขึ้น แต่ถ้าในกรณีที่ทำตามนี้แล้ว ภาพยังมืดอยู่ ก็สามารถค่อยๆ ปรับ ISO ขึ้นมาหน่อย และค่อยดูไป ว่าได้แสงตามต้องการหรือยัง
จัดองค์ประกอบภาพ Landscape
การวางองค์ประกอบภาพ สำคัญมากในการถ่ายภาพ Landscape เพราะจะทำให้ภาพดูมีสัดส่วนที่ชัดเจน
กฎ 3 ส่วน (Rule of thirds)
ก่อนอื่นที่จะไปจัดองค์ประกอบ ต้องเปิดฟังก์ชันจุดตัด 9 ช่อง (Photo Grid Line หรือ Grid) ในกล้อง แล้วตัวตารางก็จะโชว์ขี้นบนหน้าจอ
นอกจากนี้การถ่าย Landscape ยังต้องดูจุดตัด 9 ช่องด้วย สามารถวางจุดเด่นไว้ได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นตรงกลางภาพ ด้านซ้าย ด้านขวา
Cr. Kyle Roxas
ง่ายที่สุดจะก็เป็นการวางจุดเด่นไว้กลางภาพแบบนี้
Cr. Pixabay
หรือจะวางด้านซ้าย-ขวา ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
การถ่ายภาพจะต้องมีการแบ่งสัดส่วนของภาพด้วย เพื่อให้รู้ว่าจะเน้นหรือขยายเนื้อหาในภาพ ส่วนไหนเป็นหลักนั่นเอง
Cr. Yaroslav Shuraev
จากรูปด้านบนเป็นการถ่าย Landscape ที่มีการติดท้องฟ้า ถ้าเห็นภาพในด้านที่มีตาราง ตัวภูเขาจะอยู่ในส่วนกลางและล่าง ส่วนบนจะเป็นท้องฟ้า สัดส่วนก็จะเป็นภูเขาและท้องฟ้าแบบ 2:1
หรือถ้าจัดสัดส่วนแบบภาพนี้ เมืองและท้องฟ้าแบบ 1:2 จะทำให้ภาพโฟกัสไปที่ท้องฟ้า อาจจะทำให้ภาพดูโล่งเกิน และไม่มีจุดสนใจ
Cr. Chris Schippers
ภาพนี้ก็จะเป็น ท้องฟ้า เมือง และน้ำแบบ 1:1:1 ก็อาจจะทำให้ภาพโฟกัสไปที่พื้นที่โล่งๆ มากกว่าตัวเมือง ทำให้เมืองดูเล็กลง
นอกจากการใช้กฎ 3 ส่วนแล้ว ยังมีอีก 1 เทคนิคแนะนำ คือ การถ่ายด้วย Golden Ratio หรือสัดส่วนทองคำ หรือบางทีก็เรียกว่า Fibonacci Spiral จะเป็นสัดส่วน 1:1.618 หรือ 0.618:1 ซึ่งถ้าดูแค่ตัวเลขจะไม่เข้าใจแน่นอน ไปดูรูปกันดีกว่าว่าเป็นยังไงบ้าง
Cr. Riccardo
ลักษณะจะเป็นก้นหอย ใช้ได้ทั้งกับภาพแนวตั้งและแนวนอน และเมื่อวางวัตถุให้อยู่ในจุดตัด, ตรงเส้นวน และเส้นต่างๆ จะทำให้ภาพดูดึงดูดและมีความน่าสนใจมากขึ้น
และยังมีเทคนิคอื่นๆ อีก เช่น การวางฉากหน้าหรือโฟร์กราว (foreground) เพื่อเพิ่มมิติให้ภาพ, ถ่ายภาพแบบเล่นกับเงาสะท้อน จะใช้กับการถ่ายกับภาพที่มีสิ่งสะท้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ กระจก เพื่อให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น
Cr. Luis Quintero, Pok Rie
มีฉากหน้าหรือโฟร์กราว (foreground)
Cr. Pixabay, Bri Schneiter
ภาพสะท้อน
และถ่ายภาพแบบมีเส้นนำสายตา ใช้สิ่งที่อยู่ในภาพมาเป็นเส้นนำสายตา เช่น ถนน แม่น้ำ หรือทางรถไฟ ซึ่งอาจจะเป็นเส้นนำสายตาจากหน้าไปหลัง หรือซ้ายไปขวาก็ได้
รอจังหวะในการถ่ายภาพ Landscape
การรอจังหวะเวลาในการถ่ายภาพ Landscape สำคัญมาก เป็นส่วนหนึ่งเลยที่ทำให้ได้ภาพสวยๆ เลยมีเทคนนิคนึงที่น่าสนใจมาแนะนำ คือ การถ่ายภาพแบบ Interval Time หรือจะอยู่ในโหมด Time Lapse ในกล้อง เป็นการตั้งกล้องไว้ และให้กล้องถ่ายไปเรื่อยๆ สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้กล้องถ่ายทุกๆ กี่วินาที และกำหนดจำนวนรูปที่ต้องการ เช่น ถ่ายทุกๆ 10 วินาที จำนวน 100 รูป
Cr. Bruno Scramgnon, Kat Smith
ส่วนช่วงที่ใครๆ ก็ชอบถ่ายอย่าง Golden hour เพราะได้ภาพที่มีแสงสวย แนะนำให้ถ่ายช่วงเวลาถ่าย จะมี 2 ช่วง ถ้าเป็นตอนเช้าจะเป็นช่วงพระอาทิตย์กำลังขึ้น และตอนเย็น ช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน จะทำให้เกิดแสงตกกระทบสีส้มทอง ให้แสงนุ่ม ไม่แข็งและให้มีมิติชวนฝัน
ส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญสุดๆ นอกจากกล้องและเลนส์ เวลาเราถ่าย Landscape ตอนแสงเย็น หรือกลางคืน เลยก็คือ ขาตั้งกล้อง เพราะเวลาถ่ายภาพ จะต้องเปิดสปีดชัตเตอร์นาน ขาตั้งกล้องก็จะช่วยให้กล้องนิ่ง และได้ภาพที่ต้องการ ดังนั้นเลือกขาตั้งกล้องที่ใช้ถนัดๆ ซัก 1 ตัวติดไปด้วย
พูดถึงขาตั้งกล้องแล้ว อีก 1 ภาพที่เราจะได้ภาพ Landscape มุมมองกว้างๆ สวยๆ อย่างภาพพาโนรามา (Panorama) จะเป็นวิธีการถ่ายภาพ แล้วนำมาต่อกันแบบ shot ต่อ shot
แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องที่มีระดับน้ำ สามารถตั้งขาให้ได้ระดับ เพื่อจะทำให้ภาพที่ถ่ายแล้ว เอามาต่อกันได้ง่ายขึ้น และใช้คู่กับ Panorama Head จะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ จุดหมุนของเลนส์อยู่ในตำแหน่งการหมุนของขาตั้งกล้อง ส่วนอีกอย่างที่ต้องใช้คือ เลนส์ระยะ 50 mm เพราะเป็นเลนส์ระยะสายตามนุษย์ จะไม่ให้ความโค้งงอของภาพ
Cr. Pixabay
Cr. Kamran Sabir
ส่วนการตั้งค่าก็จะเหมือนกับการถ่าย Landscape ทั่วไป และหลักการถ่ายพาโนรามา (Panorama) จะมีจุดสำคัญอยู่ที่การตั้งกล้องให้จุดหมุนอยู่ที่โนดัลพ้อยท์ (nodal point) ทำให้ภาพไม่เปลี่ยนตำแหน่งเวลาแพลนกล้อง ไม่ให้เกิดปัญหาพาราแล็กซ์ (Parallax) หรือการเหลื่อมของภาพ ดังนั้นภาพที่ได้ก็จะต่อกันได้สนิท และอีกอย่างที่สำคัญมากๆ เลย คือ การควบคุม Exposure ให้มีค่าคงที่ เพื่อให้การถ่ายแต่ละซีนมีแสงที่เท่ากัน เพื่อเวลาตอนเอาช็อตมาต่อกันจะได้เนียน
มุมมองการถ่าย
มุมมองการถ่ายก็เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เลนส์ด้วย จะใช้เลนส์ kit ที่มากับกล้องเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อเลนส์เสริมเพิ่ม
Cr. Gabriela Palai
แต่หลายๆ คนคงคิดว่าจะถ่าย Landscape จะใช้เลนส์มุมแคบ หรือ Telephoto Lens ไม่ได้แน่ๆ แต่จริงๆ แล้ว บางครั้งเราก็ไม่ได้อยากเก็บภาพเต็มๆ แต่อยากได้เฉพาะจุดที่น่าสนใจ ก็จะสามารถใช้เลนส์มุมแคบ (telephoto) มากกว่า 50mmขึ้นไป ถ่ายภาพ Landscape เจาะจงบางมุมสวยๆได้ หรือในกรณีที่เราอยู่ไกลกับวิวที่อยากได้ แต่ไม่อยากเก็บภาพกว้าง ก็สามารถเก็บภาพให้แคบลงได้
Cr. Balaji Srinivasan, Pixabay
มุมกว้าง, มุมแคบ/เจาะ
Cr. Fede Roveda
มุมแคบ/เจาะ
การวัดแสง
อีกอย่างที่ไม่ควรพลาด คือการตั้งค่าสเกลวัดแสงหรือ Metering Mode เป็นตัวที่บ่งบอก ให้กล้องคำนวนค่าแสงสว่าง สำหรับการถ่ายภาพแบบ Landscape แนะนำให้ใช้การวัดแสงแบบเฉลี่ย ตัวเลือกนี้จะง่ายสำหรับมือใหม่ จะเป็นการคำนวนแสงที่เข้ามาในภาพหรือเฟรมทั้งหมด มาเฉลี่ยและแสดงผลให้รู้ว่า แสงในภาพมืดหรือสว่าง แสงพอหรือไม่พอ
สเกลวัดแสงจะโชว์อยู่บนหน้าจอให้ดู จะแสดงผลเป็นค่าบวกและลบ (+,-) ตามค่าแสงที่รับเข้ามาในกล้อง ถ้าค่าติดลบ (-) เราจะไม่ปรับ ISO ให้สูงทีเดียว แต่อาจจะต้องปรับสปีดชัตเตอร์ให้สูงขึ้น เพื่อให้แสงเข้ากล้องมากขึ้น ทำให้สเกลวัดแสงปรับค่าไปตามความสว่าง
Cr. Pixabay
และสำหรับใครที่อยากได้ภาพ Landscape แบบ silhouette แนะนำให้ถ่ายในช่วงเช้า 30 นาทีก่อน - หลังพระอาทิตย์ขึ้น และตอนเย็นก็เหมือนกัน คือ 30 นาทีก่อน - หลังพระอาทิตย์ตก ส่วนการวัดแสง แนะนำให้ใช้การวัดแสงเฉพาะจุด คือ วัดแสงที่ฉากหลังหรือตรงจุดที่มีแสงมากที่สุด หลังจากที่วัดแสงตรงจุดแล้ว จะทำให้ฉากหน้ามืดโดยอัตโนมัติ และจะได้ภาพย้อนแสงที่ดี
การตั้งค่าไฟล์
สิ่งที่หลายๆ คนพลาดคือการตั้งค่าไฟล์ ส่วนใหญ่แล้วการถ่ายโดยใช้คุณภาพไฟล์ JPEG จะทำให้แก้สีและแสงทีหลังไม่ได้ ดังนั้นถ้ากล้องใครมีการบันทึกแบบไฟล์ RAW ก็ควรตั้งให้เป็นการบันทึกแบบ RAW ดีกว่า เพราะการไปถ่ายซ้ำอาจจะยาก หรือไม่ได้มุมที่ต้องการแล้ว การมีไฟล์ที่สามารถปรับแก้ทีหลังได้ จะดีกว่ามาก
สถานการณ์ที่แสงไม่ได้ ใช้ “ฟิลเตอร์ (Filter)” ช่วย
หลายๆ ครั้งในการถ่ายภาพ Landscape มักจะเจอแสงที่ไม่เป็นใจ แต่มีอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้แสงดีขึ้นได้ ก็คือ “ฟิลเตอร์ (Filter)” หรือที่รู้จักกันดีว่า ตัวช่วยโกงแสง จะช่วยให้การถ่ายภาพสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งฟิลเตอร์ (Filter) ก็มีอยู่หลากหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพ Landscape ก็จะมี
- Neutral Density Filters (ND filter)
Cr. zhang kaiyv, Pok Rie
เป็นฟิลเตอร์ลดปริมาณแสง ช่วยลดเเสงที่จะผ่านเข้าไปยังหน้าเลนส์ สำหรับสถานการณ์ที่มีสภาพแสงที่สว่างจ้าจนเกินไป ช่วยให้การถ่าย Long Exposure ที่ต้องเปิดรับแสงนานๆ สะดวกยิ่งขึ้น
- Graduated Neutral Density Filters (GND filter)
Cr. Josh Hild
เป็นฟิลเตอร์ที่มืดครึ่งซีกเเละใสครึ่งซีก ด้านบนเป็นสีดำโปร่งแสง แสงยังสามารถผ่านได้อยู่ แต่ช่วยลดทอนแสงลงได้ และด้านล่างจะเป็นแผ่นแก้วใสๆ แสงผ่านได้เกือบ 100% จะใช้ได้ในกรณีที่ท้องฟ้าสว่างมาก เเต่พื้นส่วนด้านล่างค่อนข้างมืด
- Reverse Graduated Neutral Density Filter (Reverse GND filter)
Cr. Pixabay
เป็นฟิลเตอร์คล้ายๆ กับ GND filter แต่ Reverse GND filter จะมีส่วนมืดที่สุดอยู่กลางฟิลเตอร์ เเละส่วนมืดจะลดลงจนถึงส่วนบนสุดของฟิลเตอร์ ฟิลเตอร์นี้จะนิยมใช้ตอนพระอาทิตย์อยู่บริเวณเส้นขอบฟ้า ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นเเละช่วงพระอาทิตย์ตก
- Polariser Filters (PL filter)
เป็นฟิลเตอร์ช่วยลดเเสงสะท้อนจาก น้ำ กระจก ใบไม้ หรือท้องฟ้า ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดชัดขึ้น และยังช่วยดึงสีให้เข้มหรืออิ่มมากขึ้นอีกด้วย นิยมใช้ถ่ายภาพที่มีน้ำ และท้องฟ้า
Cr. Sami Anas
ภาพด้านบน จะเห็นรายละเอียดในน้ำมากขึ้น ลดเงาและแสงสะท้อนได้ดี
การใช้ฟิลเตอร์แต่ละแบบ ก็ต่างกันไปตามสภาพแสงที่จะเจอ และภาพที่ต้องการ บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ แต่ถ้าต้องการให้งานเนี๊ยบจริงๆ ก็ควรจะมีติดตัวไว้
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ชอบการถ่ายภาพ Landscape จะเอาเทคนิคต่างๆ ไปปรับใช้กับการถ่าย แล้วในครั้งถัดไป จะต้องได้ภาพที่ถูกใจอย่างแน่นอน