ครีเอทวิดีโอสุดเจ๋ง กับ Gimbal Movement

 

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่สนใจงานวิดีโอ อุปกรณ์ที่ซื้อต่อจากกล้องและเลนส์ ก็น่าจะเป็นกิมบอล เพราะกิมบอลจะช่วยให้งานวิดีโอดูโปรมากขึ้น ทั้งเรื่องความนิ่ง และการครีเอทมุมมองได้หลากหลาย ซึ่งมูฟเม้นท์ของการเคลื่อนของกล้องนี่แหละ จะทำให้วิดีโอแตกต่าง เล่าเรื่องได้ และน่าสนใจมากกว่าเดิม

Tips ที่ต้องเรียนรู้ก่อนใช้งานกิมบอล

 

ก่อนจะเริ่มการใช้งานจริง นอกจากจะรู้มูฟเม้นท์ต่าง ๆ แล้ว สำหรับมือใหม่ แนะนำว่าจะต้องตั้งบาลานซ์กิมบอลให้ดีก่อน จากนั้นปรับองศาของจอภาพให้ได้มุมมองที่ถนัดที่สุด และสุดท้ายใช้ฟังก์ชันในกิมบอล ช่วยตรวจเช็คว่ากาารตั้งบาลานซ์ของเราพร้อมใช้งานแล้วหรือยัง จะสามารถเช็คได้ที่ฟังก์ชัน Gimbal Auto Check พร้อมกับเช็ค Calibration Auto Tune ด้วย เพื่อให้กิมบอลปรับกำลังการใช้งานให้แมทช์กับน้ำหนักกล้องและเลนส์

และยังต้องเรียนรู้เทคนิคการใช้งานกิมบอลและฝึกฝนการใช้งานบ่อย ๆ เพราะการใช้กิมบอลไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เช่น จะต้องฝึกรองรับน้ำหนักกิมบอล การทรงตัว การเคลื่อนตัว การก้าวขาให้สัมพันธ์กัน พยายามเดินให้เบา ลงน้ำหนักที่ส้นเท้า เพื่อให้การเคลื่อนไหวนิ่งขึ้น และให้งานวิดีโอออกมาดีที่สุด

 

เริ่มจากมูฟเม้นท์แบบเบสิค

เริ่มจากการเคลื่อนกล้องแบบเบสิคกันก่อนเลย หลายคนจะรู้จักการ Pan, Tilt, Track/Follow, Dolly, Zoom ซึ่งทั้ง 5 อย่างนี้จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ กล้องอยู่กับที่ ได้แก่ การแพนกล้อง (ซ้าย-ขวา) การทิลท์ (ขึ้น-ลง) และการซูม (ซูมเข้า-ออก) ส่วนแบบที่ 2 คือการเคลื่อนกล้องตามแบบ ได้แก่ การแทรคหรือฟอลโล่ (ถ่ายขนานไปกับตัวแบบ) และการดอลลี่ (เดินเข้าหา-ถอยหลัง)

Pan

Cr. MART PRODUCTION

 

Tilt

Cr. KoolShooters

 

Follow/Track

Cr. cottonbro

 

Dolly

Cr. RODNAE Productions

 

Zoom

Cr. Kevin Yau

 

การเคลื่อนไหวของกล้องไม่ได้มีแค่นี้ ยังมีอีกหลากหลายมูฟเม้นท์ที่เชื่อว่า หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้ยิน แต่อาจจะเคยเห็นการมูฟแบบนี้บ้างในหนังหรือในงานวิดีโอต่าง ๆ

Orbit

Cr. Ron Lach

เคลื่อนกล้องเป็นวงกลมรอบวัตถุ หรือการมูฟรอบ ๆ ตัวแบบ เพื่อให้เห็นทั้งด้านหน้า-หลัง และข้าง ๆ

 

Roll หรือ 360 องศา

Cr. Denys Gromov

กิมบอลส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันนี้ คือ กล้องจะหมุนหรือควงเป็นวงกลม ด้วยการสั่งงานจากกิมบอล ซีนที่ได้คือ ภาพจะหมุนไปเรื่อย ๆ จะได้ภาพแบบ Upside Down หรือกลับหัวด้วย

Jib/ Crane

Cr. Taryn Elliott

เคลื่อนกล้องเป็นแนวดิ่ง จากบนสุดดิ่งลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน มุมมองนี้มาจากการใช้เครนในการถ่ายหนังฟอร์มใหญ่ ๆ หรือ ทำเป็นมุมมองโดรนก็ทำได้

 

FPV

Cr. cottonbro

การมูฟแบบอิสระ ในลักษณะ FPV หรือ Firt person view ตามติดมุมมองของตัวแบบ ตามตัวแบบเลยว่ามีแอคชั่นยังไง จะไปซ้ายที ขวาที เดินตาม ถอยหลัง ก็ทำได้หมด แต่ว่าจะเน้นไปที่ตัวแบบหรือมุมมองรอบข้างของตัวแบบ

แต่การที่จะทำให้วิดีโอตัวนึงออกมาเจ๋ง ๆ คนดูแล้วว้าวได้ ไม่ใช่ง่าย ๆ จะต้องทำมากกว่ามูฟเม้นท์ด้านบน เพราะคนทำ Filmmaking จะต้องครีเอทมุมมองใหม่ และเอาทุกการมูฟเม้นมาประยุกต์ใช้กับฟังก์ชันในตัวกิมบอล

 

ตัวอย่างการรวมมูฟเม้นท์ต่าง ๆ

Dolly in + Zoom out / Dolly Out + Zoom in

เป็นการเคลื่อนกล้องที่จะต้องทำ 2 อย่างพร้อมกัน โดยภาพที่ได้ แบบจะเหมือนอยู่นิ่ง แต่ฉากหลังจะขยับ

Dolly in + Zoom out ขยับตัวเข้าหาแบบ แต่กดกล้องให้ซูมออกจากแบบ ทำให้ได้ภาพที่แบบอยู่กับที่ แต่ฉากด้านหลังจะกว้างขึ้น

 

Dolly Out + Zoom in ขยับตัวออกจากแบบ แต่กดให้กล้องซูมเข้าหาแบบ ทำให้ได้ภาพที่แบบอยู่กับที่ แต่ฉากด้านหลังแคบลง

 

Pan + Tilt

Cr. KoolShooters

แพนกล้องซ้าย-ขวา และทิ้ลท์กล้องขึ้น ตามตัวแบบที่กำลังเล่นกับวัตถุชิ้นนึงอยู่

 

Tilt + Dolly out

Cr. fauxels

ทิ้ลท์กล้องลงด้านล่างให้เห็นพื้น และเดินถอยหลัง Dolly out ไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยทิ้ลท์กล้องขึ้นอยู่ในระดับที่ต้องการ

 

Dolly + Orbit

Cr. Joseph Eulo

กล้องดอลลี่เข้าหาตัวแบบ จากนั้นเคลื่อนกล้องเป็นวงกลมรอบวัตถุ หรือ รอบตัวแบบ เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหว ทั้งด้านหลัง ด้านข้าง และด้านหน้า รวมไปถึงการแสดงออกทางสีหน้าด้วย

 

Follow + Jib/Crane + Orbit

Cr. ROMAN ODINTSOV

ฟอลโล่หรือแทรคตามตัวแบบจากด้านล้าง และค่อย Jib เคลื่อนกล้องเป็นแนวดิ่ง จากล่างขึ้นบน และเคลื่อนกล้องรอบวัตถุ หรือ รอบตัวแบบ

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่างในการรวมการเคลื่อนกล้องต่าง ๆ มาใช้งานรวมกันเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลากหลายแบบ จะขึ้นอยู่กับการครีเอทแล้วว่าซีนนั้นเราต้องการนำเสนอภาพไปแบบไหน ต้องการวางมุมภาพยังไง เพื่อเล่าเรื่องออกมาให้ดีที่สุด

Back to top