การบันทึกโมเมนต์เคลื่อนไหวด้วยภาพนิ่ง ถือเป็นสิ่งที่ทาได้ยากมาก ๆ โดยเฉพาะกับกล้องดิจิทัล เพราะส่วนใหญ่เมื่อถ่ายออกมาภาพจะเบลอจนแทบมองไม่เห็นอะไรเลย ซึ่งการถ่ายช็อตเด็ดที่กาลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วให้งดงามทุกรายละเอียด จะต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากทุกคน ดังนี้
Stop Action
Shutter Speed สูง >> เปิดรูรับแสงกว้าง (เปิดแฟลช) >> ISO สูง
ขอบคุณภาพจาก : Jaydn https://unsplash.com/photos/wlSJqLSj34M
เมื่อวัตถุหลักกาลังเคลื่อนไหว แล้วอยากจะเก็บช็อตให้ได้เหมือนกับหยุดเวลา ควรใช้เทคนิค “Stop Action” ซึ่งปัจจัยแรกที่ต้องคานึงถึงเลยก็คือ Shutter Speed ควรตั้งค่าให้มีความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อย 1/500 วินาทีขึ้นไป เพื่อเก็บภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้คมชัดทุกรายละเอียด
อย่างไรก็ตามการใช้ Shutter Speed สูง ๆ อาจจากัดปริมาณแสงที่เข้าสู่เซนเซอร์ภาพ จนส่งผลให้ภาพถ่ายมีแสงไม่เพียงพอได้ ซึ่งปัจจัยต่อมาก็คือ การเปิดรูรับแสงให้กว้าง เพื่อทาให้มีแสงเข้ามามากขึ้น รับมือกับพื้นที่แสงน้อยได้ดี อย่างไรก็ตาม การเปิดรูรับแสงกว้าง จะทาให้ค่า f-stop ลดลง และส่งผลให้ระยะชัดลึกของภาพลดตาม ซึ่งหมายความว่านอกเหนือจากวัตถุหลักแล้ว องค์ประกอบอื่นในฉากหลังอาจจะหลุดโฟกัสได้ ฉะนั้นไม่ควรตั้งค่า f-stop ให้ต่ากว่า f2.8 เพื่อรักษาความคมชัดให้กับทุกองค์ประกอบในภาพ
หรือหากอยากเพิ่มแสงสาหรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย โดยไม่ต้องเปิดรูรับแสงกว้างขึ้น แนะนาให้ใช้แฟลช แต่ส่วนใหญ่แล้วกล้องดิจิทัลจะมีระยะแฟลชที่สั้นมาก การใช้แฟลชจึงเหมาะสาหรับวัตถุเคลื่อนไหวที่อยู่ห่างจากกล้อง
ประมาณ 2-3 เมตร ดังนั้นสาหรับการถ่ายภาพกีฬาที่มีระยะห่างค่อนข้างไกล การใช้แฟลชอาจจะไม่เหมาะ และแสงแฟลชอาจรบกวนคนอื่นได้
และอีกหนึ่งปัจจัยสาคัญ คือ การตั้งค่า ISO ให้สูงขึ้น จะทาให้คุณเพิ่ม Shutter Speed หรือ เปิดรูรับแสงกว้างขึ้น โดยที่ภาพไม่เบลอ แต่ต้องระวังไม่ให้ค่า ISO สูงเกินไป เพราะอาจมีสัญญาณรบกวนที่ทาให้เกิดเม็ดเล็ก ๆ ในภาพได้
ขอบคุณภาพจาก : Austin Neill https://unsplash.com/photos/nhYD05DCi7w
Panning Shot
Shutter Speed ต่ำ >> ใช้ขาตั้งกล้อง >> แพนกล้องตามวัตถุด้วยความเร็วที่สัมพันธ์กัน >> โฟกัสเมื่อวัตถุผ่านมาตรงกลางของเฟรม
ขอบคุณภาพจาก : Stephan Louis https://unsplash.com/photos/ZMhTauUU_eE
Panning Shot หรือการถ่ายภาพแบบแพนกล้อง เหมาะสาหรับการถ่ายภาพถนนที่มีรถยนต์วิ่งผ่านไปมา หรือวัตถุที่กาลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
ซึ่งการตั้งค่า Shutter Speed สาหรับการแพนกล้องจะตรงข้ามกับการถ่ายแบบ Stop Action อย่างสิ้นเชิง เพราะการแพนกล้องจะต้องใช้ Shutter Speed ที่ต่า เพื่อทาให้ฉากหลังเป็นภาพเบลอ ควรใช้ขาตั้งกล้องที่สามารถปรับหมุนได้ เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง ซึ่งการถ่ายแบบแพนกล้องจะทาให้มีความรู้สึกเหมือนวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
เทคนิคการแพนกล้อง คือ ถือกล้องและแพนตามวัตถุที่กาลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สัมพันธ์กัน จากนั้นควรตั้งค่ากล้องให้โฟกัสเมื่อวัตถุผ่านเข้าสู่ตรงกลางของเฟรม เพื่อทาให้วัตถุมีความคมชัด โดดเด่น ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ในฉากหลังจะเป็นภาพเบลอ
ช่างภาพมืออาชีพหลายคนจะเข้าใจดีว่า การถ่ายภาพแบบแพนกล้องต้องใช้เวลาในการฝึกและลองเรื่อย ๆ สาหรับช่างภาพมือใหม่ อาจจะลองถ่ายแพนกล้องกับวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ก่อน เช่น สุนัขที่กาลังวิ่ง เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก : Ryunosuke Kikuno https://unsplash.com/photos/5qzC3B_LOgw
Chrono Photography
ใช้ขาตั้งกล้อง >> ถ่ายภาพต่อเนื่อง >> ตัดต่อภาพให้เห็นลักษณะการเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรม
ขอบคุณภาพจาก : MunsterNet https://www.flickr.com/photos/munsternet/138094591/
หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ “Chrono Photography” สักเท่าไร นี่คือเทคนิคการจับภาพวัตถุที่กาลังเคลื่อนไหวหลาย ๆ ช็อต แล้วแสดงภาพเหล่านั้นให้เห็นถึงลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องกันในเฟรมเดียว ซึ่งผลลัพธ์ก็จะคล้ายกับรูปภาพด้านบนนั่นเอง
การใช้เทคนิค Chrono Photography ควรใช้ขาตั้งกล้องในการเซ็ตกล้อง และเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนไหวให้กดช็อตถ่ายต่อเนื่องหลายเฟรมต่อกัน หลังจากนั้นนำภาพมาตัดต่อให้เห็นลักษณะของวัตถุในแต่ละเฟรมเคลื่อนที่ในหลากหลายอิริยาบถ ทาให้ผู้ชมเห็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ เป็นเทคนิคที่คนรักการถ่ายภาพต้องลองน่าไปใช้ดูสักครั้ง
ขอบคุณภาพจาก : Geraint Otis Warlow https://www.flickr.com/photos/gpwarlow/850611221/
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคดี ๆ สาหรับการบันทึกช็อตเด็ดจากภาพเคลื่อนไหวให้เป็นงานศิลปะอันงดงาม หยุดภาพที่กาลังเคลื่อนไหวด้วยความเร็วให้กลายเป็นภาพนิ่งที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ แต่แน่นอนว่าเทคนิคการถ่ายภาพเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ทาได้ง่าย โดยเฉพาะกับมือใหม่ ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่าเสมอ แล้วผลลัพธ์การถ่ายภาพของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
บทความโดย Michael Gabriel จากเว็บไซต์ contrastly.com
https://contrastly.com/how-to-capture-motion-and-moving-subjects/