การถ่ายภาพสตรีท คือ การไปตามสถานที่ต่างๆ และกดชัตเตอร์ ที่จะเน้นเรื่องของจังหวะ ไลฟ์สไตล์ และองค์ประกอบภาพ
Cr. Kyrie Lyu, Artyom Malyukov
ซึ่งส่วนสำคัญมากๆ อีกอย่าง คือ การเรียนรู้กล้องที่ใช้ถ่ายภาพ เพราะการถ่ายสตรีท จะเน้นกดชัตเตอร์ไว เพราะโมเม้นท์นั้นๆ มันไม่รอเรา ถ้าผ่านไปแล้ว ก็ไม่สามารถถ่ายช็อตเดิมได้แล้ว ซึ่งการเรียนรู้กล้อง จะต้องฝึกฝน หรือหยิบกล้องมาถ่ายบ่อยๆ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจกล้อง
เลนส์ที่ควรใช้
เลนส์ที่แนะนำสำหรับการถ่ายภาพสตรีท คือเลนส์ช่วง 24mm 35mm 50mm จะเป็นช่วงเลนส์ที่เก็บภาพได้รายละเอียดเยอะ ใกล้เคียงระยะสายตาคน ทำให้ถ่ายง่าย และแนะนำให้ใช้เลนส์ตัวเดียวไปเลย อย่างเลนส์ซูมช่วง 25-50mm จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ไปมา ทำให้พลาดช็อตสำคัญ และสามารถปรับระยะได้ตลอด ว่าต้องการภาพประมาณไหน
Cr. Nurlan Tortbayev, Melina Vargas
และยังมีขนาดกะทัดรัดและคล่องตัว เพราะเราจะเข้าใกล้ subject หรือสิ่งที่ต้องการถ่ายได้ง่ายกว่าเลนส์ขนาดใหญ่
ไม่แนะนำให้ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเยอะ ก็เพราะว่าไม่เหมาะกับการถ่ายสตรีท เลนส์จำพวกนี้จะต้องใช้พื้นที่มากในถ่ายภาพ ต้องเว้นระยะห่างไว้เยอะมากๆ เพราะมุมภาพจะแคบ และนอกจากนี้ยังมีขนาดใหญ่เกินไป อาจจะทำให้คนรอบตัวทำตัวไม่ถูก และสงสัยในสิ่งที่เราทำ จะทำให้สภาพแวดล้อมและบรรยากาศอึดอัด
แนะนำให้ใช้ค่ารูรับแสงแคบ
การถ่ายภาพสตรีทจำเป็นต้องคุมระยะชัดในภาพ ส่วนใหญ่จะชัดทั้งภาพ เพราะส่วนใหญ่การถ่ายสตรีท จะไม่ค่อยถ่ายชัดลึก หรือหน้าชัดหลังเบลอเท่าไห่ เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน ขนาดรูรับแสงที่ใช้จึงมักมีขนาดแคบ จะใช้ค่ารูรับแสงช่วง F8 เป็นต้นไป
Cr. Wallace Chuck, Clem Onojeghuo
ส่วนเรื่องการตั้งค่าอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลมากกว่า ซึ่งการตั้งค่าโฟกัส ก็สามารถใช้ได้ทั้ง manual focus และ auto focus เลย ถ้าเลือกใช้ auto focus ให้ตั้งเป็นโหมด AF-S หรือโหมด one shot และใช้ AF-L หรือ AF-on บนกล้อง เมื่อกดปุ่มนี้ค้างไว้ กล้องจะล็อคโฟกัส ไม่ต้องตั้งโฟกัสใหม่หลายรอบ
หรือใช้ manual focus ให้ลอง pre-focus บนระยะที่ตั้งใจจะถ่าย และให้แน่ใจว่าเมื่อถ่ายภาพ วัตถุหรือตัวแบบนั้นอยู่ตรงระยะที่โฟกัสไว้แล้ว
และในส่วนอื่นๆ เช่น ISO ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแสงเปลี่ยนไปตลอดเวลา แนะนำให้ตั้ง ISO อยู่ที่ค่าประมาณ 200-400 ไว้ก่อน แต่ถ้าอยู่ๆ ก็แสงน้อย หรืออยู่ในสถานการณ์ที่แสงไม่เพียงพอ ก็ต้องดัน ISO ขึ้น แต่แนะนำว่าให้ค่อยๆดัน ให้ลองกดชัตเตอร์ดูด้วยว่าแสงโอเคมั้ย ไม่ควรเปิดสูงทีเดียว เพราะจะทำให้เกิด noise หรือจุดรบกวนในภาพได้
ภาพสตรีทแบบไหนถึงจะดี?
Cr. David Lee, Erick Kaine , Alex Motoc
ภาพสตรีทที่มีอิมแพคมากๆ ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับรูปทรง (shape) ในภาพ ทิศทางแสง รวมไปถึงองค์ประกอบรวม ที่ดูแล้วทำให้ภาพดูมีชีวิต บ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ได้ และอีกอย่างที่ทำให้ภาพสตรีทแตกต่างกัน แม้จะถ่ายที่เดียวกัน คือ มุมมองการถ่าย ความคิดสร้างสรรค์ ว่าจะครีเอทภาพนี้ไปในทิศทางไหน
ถึงแม้ว่าจะบอกไม่ได้ว่าภาพแบบไหนจะดีที่สุด แต่ให้ดูเรื่องรูปทรง (shape) ทิศทางแสง จังหวะองค์ประกอบภาพ และมุมมองการถ่าย ก็จะทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น
เชื่อว่ามือใหม่หลายๆ คนก็ยังไม่รู้ว่าจะถ่ายยังไงดี ควรถ่ายมุมไหน ซึ่งจริงๆ แล้ว เราสามารถหาตัวอย่างในโซเชียล หรือดูผลงานของศิลปินต่างๆ มาเพื่อเป็นแนวทางได้ และเอาไปปรับใช้ ส่วนเรื่องการจัดองค์ประกอบ ว่าควรจัดยังไง ก็สามารเข้าไปดูได้ที่ การจัดวางองค์ประกอบภาพ ให้ออกมาน่าสนใจ, 5 เทคนิคจัดองค์ประกอบภาพสุดคูลที่ช่างภาพต้องรู้, เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพด้วยเส้น
ถ่ายภาพสตรีทจัดแสงไม่ได้?
หลายคนอาจจะคิดว่าการถ่ายข้างนอก อย่างการถ่ายสตรีทคงจัดแสงไม่ได้ ด้วยความที่เป็นแสงธรรมชาติ ความไวในการสแนป และเรื่องของจังหวะเวลาด้วย ซึ่งส่วนสำคัญที่สุด คือ เวลาที่เราไปถึงสถานที่นั้นๆ เช่น ไปถึงสถานที่เย็นเกิน แสงไม่ได้ ซึ่งทำให้คราวหน้าต้องไปเช้ากว่านี้ แนะนำให้ถ่ายในช่วงเวลาเช้า - บ่าย ที่มีแสงแดดจะดีกว่า
Cr. Nicholas Green , Florian Chefai
และเมื่อถึงสถานที่แล้ว แน่นอนว่าไม่ได้เอาไฟสตูมาจัดแสงอยู่แล้ว เพราะไม่เหมาะกับการถ่ายสตรีทเลย แต่จริงๆ แล้วเราสามารถจัดแสงธรรมชาติได้นะ ขึ้นอยู่กับไทม์มิ่ง การหาแสงและแดด ดูทิศทางแสง หา shape เพราะงานสตรีทเป็นประเภทที่จะต้องรอเพอร์เฟ็คไทม์มิ่ง
Cr. Rene Böhmer
เช่น รู้แล้วว่ามุมนี้สวย แต่แสงยังไม่ได้ คิดว่าถ้าแสงตกมาตรงนี้จะสวยกว่าแน่นอน ก็ต้องรอจังหวะ เพื่อให้ภาพที่ต้องการ บางทีกดชัตเตอร์เป็นร้อยๆรูปหรือมากกว่านั้น เพื่อให้ได้รูปเดียวก็มี
เราสามารถมองผ่านสายตาตัวเองได้เลย ซึ่งจริงๆ แล้ว การมองมุมมองต่างๆ ให้ได้มุมที่ดีขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน ขึ้นอยู่ประสบการณ์ของตัวบุคคล
มองหาเส้นนำสายตา/รูปทรงต่างๆ
Cr. Nejat Gunduc
อย่างที่บอกไปว่าการถ่ายสตรีท การหารูปร่าง รูปทรงที่น่าสนใจ ก็เป็นเทคนิคนึงที่จะทำให้ภาพดูน่าสนใจ บางทีมันบ่งบอกไลฟ์สไตล์ หรือชีวิตความเป็นอยู่ได้ ลองมองหารูปทรงที่แปลกตาและโดดเด่น เช่น ประตู หน้าต่าง ทางเดิน ถนน ตึก เป็นต้น
Cr. Platon Matakaev, Marc Kleen
การวางตัว
การที่มีบุคลิกที่เข้าถึงง่าย จะช่วยทำให้การถ่ายภาพออกมาได้ง่าย และยังได้ภาพที่มีเพอร์เฟ็คไทม์มิ่งด้วย แต่เข้าใจว่าทุกคนไม่สามารถปรับบุคลิกของตัวเอง เพื่อให้เข้ากับคนได้ง่ายๆ แน่นอน
ซึ่งวิธีที่จะทำให้บรรยากาศในการถ่ายภาพไม่อึดอัด คือ อาจจะต้องศึกษาสถานที่ สภาพแวดล้อมทีจะไปถ่ายก่อน ว่ามีไลฟ์สไตล์ยังไง ใช้ชีวิตยังไง แต่งตัวประมาณไหน หรือง่ายๆ คือการทำให้ตัวเองเนียนไปกับคนในพื้นที่ จริงๆ ถือกล้องเข้าไปก็มีคนมองแล้วแหละ แต่ก็จะช่วยให้เราเป็นธรรมชาติ และเป็นจุดเด่นน้อยลง
Cr. Quintin Gellar
และนอกจากเรื่องการวางตัวแล้ว การขออนุญาตก่อนถ่ายสำคัญมาก เพราะในปัจจุบันเรื่อง safty และ privacy เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ตระหนักกันมากขึ้น หลายคนอาจจะคิดว่าถ้าขอถ่าย แล้วจะได้ภาพที่เป็นธรรมชาติไหม? ซึ่งจริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับการพูดคุยของเราด้วย ว่าคำพูดของเรา และท่าทางจะทำให้เขาสบายใจ และเป็นตัวของตัวเองแค่ไหน
สำหรับนักถ่ายมือใหม่ ทั้งหมดนี้จะเป็นแนวทางเริ่มต้นการถ่ายสตรีท ซึ่งถ้าได้ลองถ่ายไปเรื่อยๆ แล้ว จะเห็นว่าไม่ได้มีแบบกำหนดตายตัว ว่าต้องถ่ายแบบไหน ทำให้ภาพสตรีทของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์มากกว่า