ทดสอบภาคสนามกับ Sony A7r mark II

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้นำกล้อง Sony A7r mark II ไปถ่ายภาพในการแข่งขัน PTT BRIC Superbike 2017 ที่สนาม Chang International Circuit จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อดูว่าจะเป็นอย่างไรถ้านำ A7r mark II ที่มีความละเอียด 42 ล้านพิกเซลมาถ่ายภาพแนว Sport จะทำออกมาได้ดีขนาดไหน

ทาง Sony ประเทศไทยส่งกล้องมาให้พร้อมกับเลนส์อีก 3 ตัว FE 24-70mm F/2.8 GM OSS, FE 70-200mm f/2.8 GM OSS และ FE 85mm f/1.4 GM OSS

ครวามรู้สึกแรกที่ได้จับกล้องเลยก็คือ ตัวกล้องมีน้ำหนักที่เบาแม้ว่าบอดี้ของ A7r mark II จะเป็นแม็กนีเซี่ยมอัลลอยด์ทั้งตัวก็ตาม แต่จับได้ไม่เต็มมือเท่าไหร่นัก สำหรับผู้ชายมือใหญ่ๆเหมือนผมต้องหากริปมาใส่เพิ่มจะได้จับกระชับมือมากขึ้น การควบคุมกล้องทำได้ดีสิ่งที่น่าประทับใจก็คือคุณสามารถเลือกปรับแต่งปุ่มแต่งๆบนตัวกล้องได้อย่างอิสระทำให้คุณสามารถปรับค่าต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคุณสามารถปรับค่ารูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ iso ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกดปุ่มใดๆบนตรงกล้องเลยแม้แต่ปุ่มเดียว

เริ่มงานด้วยการเดินดูตาม Pit ของนักแข่งข้างสนาม เก็บภาพบรรยากาศการเตรียมความพร้อมของนักแข่งก่อนลงสนาม มีการเซ็ตอัพเครื่องยนต์รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆให้มีสภาพสมบูรณ์ A7r Mark II สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างครบถ้วน มีไดนามิกเล้นท์ ภายใน Pit สภาพแสงค่อนข้างมืดพอสมควรแต่รายละเอียดในส่วนที่อยู่ในเงาก็ยังสามารถเก็บได้ครบถ้วน

 

Sony A7r mark II : FE 24-70mm f/2.8 f2.8, 1/250s, iso-100, 24mm

 

Sony A7r Mark II : FE 24-70mm f/2.8 GM OSS f2.8, 1/125s, iso-100 70mm

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/800s, iso-80 85mm

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/640s, iso-80 85mm

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/1600s, iso-50 85mm

 

Sony A7r mark II : FE 24-70mm f/2.8 : f2.8, 1/640s, iso-100, 70mm

 



Auto White balance ของ A7r Mark II ค่อนข้างตรงเลยทีเดียว แม้ว่าจะมีสภาพแสงที่ซับซ้อน หรือแสงสะท้อนจากวัตถุอื่นๆ ในภาพ ภาพตัวอย่างด้านล่างแม้ว่าจะมีแสงสะท้อนจากมอเตอร์ไซค์ และแสงที่ทะลุร่มสีแดงลงมารบกวนแต่สีเสื้อของนักแข่งยังคงเห็นเป็นสีขาวแบบเดียวกับที่ตามองเห็นถือว่าทำได้ดีมากๆ

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/400s, iso-100, 156mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/800s, iso-100, 75mm

 

 

ผมเลือกใช้ระบบโฟกัสต่อเนื่องแบบ AF-C ร่วมกับ flexible spot M เพื่อเพิ่มโอกาสในการโฟกัสทำให้โฟกัสได้อย่างแม่นยำนั้นเอง ภายในตัวกล้องมีระบบกันสั่นแบบ 5 ทิศทางช่วยเพิ่มความนิ่งเวลาแพนกล้องตามรถแข่งด้วยการโฟกัสวัตถุที่เคลื่อนที่เข้าหากล้องทำได้น่าดีอย่างเหลือเชื่อ ทั้งแม่นยำและไวมาก จุดโฟกัสทำงานไวและละเอียดมาก อย่างภาพตัวอย่างด้านล่างเป็นมุมที่จินตนาการไว้แต่คิดไว้ว่าคนถ่ายยากแน่ๆ แค่กลับถ่ายได้คั้งแต่ชุดแรกที่ถ่ายเลย (รัวไปประมาณ 8 9 รูป ได้กลับมา 2 3 รูป)

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/6400s, iso-200, 99mm

 

การโฟกัสติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ออกจากกล้องก็ทำได้ดีเช่นกัน

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/640s, iso-100, 200mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/3200s, iso-125, 200mm

 

 

ช่องมองภาพแบบ EVF นั้นคมชัดใกล้เคียงกับช่องมองภาพแบบ Optical ในกล้อง DSLR ที่ดีกว่าคือเราสามารถมองเห็นภาพที่เราจะถ่ายได้ก่อนกดชัตเตอร์นั้นเอง เพราะ EVF สามารถแสดงผลได้แบบ real time นั้นเอง แต่ก้มีข้อเสีย เช่นถาเราต้องการถ่ายภาพให้ Under ประมาณ -1 EV ขึ้นไปภาพในช่องมองภาพก็จะมืดลงด้วยทำให้หาโฟกัสลำบากนั้นเอง

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f5.6, 1/250s, iso-50, 200mm

 

 

ระบบกันสั่นที่มีมาให้นั้นทำงานได้ดีมาก ทำให้ได้ภาพที่นิ่งและคมชัดรวมถึงระบบโฟกัสของเลนส์ 70-200mm GM ทำให้สามารถแพนกล้องตามวัตถุได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาพจะเบลอแต่อย่างใด

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f5.6, 1/125s, iso-100, 200mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f7.1, 1/250s, iso-50, 139mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f5.6, 1/250s, iso-64, 200mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f7.1, 1/250s, iso-100, 116mm

 

 

นอกจากเทคนิคการ Panning แล้ว เรายังสามารถถ่ายแบบ Stop Action ได้ โดยเล่นกับจังหวะที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่นการยกล้อ การชูมือของนักแข่ง หรือ อุบัติเหตุที่เกิดในการแข่งขันโดยให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในภาพเป็นตัวเล่าเรื่องและบอกความรู้สึกนั้นออกมา

 

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f2.8, 1/1600s, iso-100, 137mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f6.3, 1/250s, iso-50, 139mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f8, 1/250s, iso-100, 200mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f5, 1/320s, iso-64, 200mm

 

Sony A7r mark II : FE 70-200mm f/2.8 : f5, 1/250s, iso-50, 182mm

 

 

สุดท้ายสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกๆสนามแข่งขัน เรียกได้ว่าถ้าขาดสิ่งนี้ไปงานกร่อยเลยทีเดียว นั้นก็คือ สาวๆพริ้ตตี้นั้นเอง มาดูกันว่าสาวๆบุรีรัมย์นั้นจะน่ารักขนาดไหน

 

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/1600s, iso-50 85mm

 

 

การไล่โทนสีผิวนั้นสวยงามและความคมของเลนส์ 85mm f1.4 GM นี่เรียกได้ว่าคมมากๆ และที่ชอบที่สุดคือระบบโฟกัสแบบ Eye Detect ที่กล้องจะโฟกัสไปที่ตาของน้องพริ้ตตี้เองเลย หมดห่วงเรื่องถ่ายมาแล้วตาไม่ชัดแน่นอน แต่บอกไว้ก่อนว่าตอนกดให้โฟกัสอาจจะมีอาการหน่วงๆเล็กน้อยเพราะกล้องต้องประมวลผลหาว่าดวงตาอยู่ตำแหน่งไหนก่อนที่จะจับโฟกัส ดังนั้นก็รอนิดนึงอย่าใจร้อนยังไงมันก็ดีกว่าเราเลื่อนจุดโฟกัสเอง

 

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/640s, iso-80 85mm

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/640s, iso-50 85mm

 

Sony A7r Mark II : FE 85mm F/1.4 GM OSS f1.4, 1/2500s, iso-50 85mm

 

 

สรุปว่า Sony A7r mark II ตัวนี้ทำงานได้อย่างน่าประทับใจในระดับหนึ่ง มันอาจไม่เหมาะกับการเอามาถ่ายภาพกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วสูง แต่มันก็สามารถทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ ใครที่คิดว่าจะซื้อมาถ่ายภาพท่องเที่ยวทั่วๆไป ถ่าย Portrait Landscape บอกเลยว่ามันสุดยอดทั้งในเรื่องของคุณภาพไฟล์และคุณภาพของเลนส์ที่มีการันตีคุณภาพของผลงานได้แน่นอน จุดที่น่าสังเกตคือเรื่องแบตเตอรี่ที่ความจุน้อยไปหน่อยทำให้แบตหมดไว เฉลี่ยนแล้วได้ราวๆ 320 รูปก็หมดแล้ว ทำให้ต้องมีแบตสำรองอย่างน้อยๆถึง 3 ก้อน รวมถึงช่องมองภาพที่ยังมีอาการ lag อยู่บ้าง ทำให้เวลาถ่ายภาพ Panning นั้นขาดความต่อเนื่องไป แต่ปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไปหลัง A9 ออกมาคงจะมีการปรับปรุงเฟิร์มแวร์ให้แก้ไขปัญหาต่างๆให้ดีขึ้นนั้นเอง

ขอขอบคุณ Sony Thailand ที่ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ และขอบคุณสนาม Chang International Circuit ที่อำนวยความสะดวกในการให้พื้นที่ถ่ายทำกับทีมงาน BIG Camera ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

Back to top