เคล็ดลับการถ่ายภาพทางช้างเผือก

 

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายนจะเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติตอนกลางคืน ที่เรียกว่าทางช้างเผือก ท้องฟ้าจะเห็นเป็นแถบแสงสว่างสีขาว แต่คนในเมืองใหญ่จะมองไม่เห็นทางช้างเผือก เนื่องจากแสงไฟและมลพิษ ดังนั้นในการล่าทางช้างเผือก เราจึงจำเป็นต้องเดินทางไปถ่ายภาพนอกเมือง  วันนี้เรามีเคล็ดลับการถ่ายทางช้างเผือก ต้องตั้งค่ากล้องอย่างไรและถ่ายแบบไหน

 

 

Photo by j-dub1980(THANK YOU FOR 100k+ Views)

 

  1. หาท้องฟ้ามืด ๆ

จะถ่ายภาพทางช้างเผือกไม่ใช่แค่รอให้ท้องฟ้ามืด แต่สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ และปัจจัยหลักคือท้องฟ้าไม่ควรมีแสงไฟจากเมือง ที่อาจทำให้เกิดร่องรอยในภาพถ่าย ดังนั้นพื้นที่ในการถ่ายทางช้างเผือกควรจะเป็นที่ที่ไกลจากเมือง หรือแม้แต่ดวงจันทร์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อภาพถ่าย ควรถ่ายภาพในคืนข้างขึ้น (New Moon) จะดีกว่าคืนที่พระจันทร์เต็มดวง  

 

Photo by Štefan Štefančík on Unsplash

 

2. รู้ว่าเมื่อไรและที่ไหนควรไปดูทางช้างเผือก

ทางช้างเผือกที่มองเห็นด้วยตาเปล่าจะไม่ปรากฎตลอดทั้งปี แต่จะมีช่วงเวลาของมัน ซึ่งในประเทศไทย ก็สามารถตรวจสอบตารางทางช้างเผือกที่จะปรากฎบนท้องฟ้าได้ ซึ่งส่วนมากทางช้างเผือกจะมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน  และแต่ละพื้นที่จะเห็นทางช้างเผือกแตกต่างกัน  

 

Photo by Josh Hawley, on Flickr

 

3. กล้องดิจิตอลที่ดัน ISO สูงๆ โดยไม่เกิด noise  

เนื่องจากเรากำลังพูดถึงการถ่ายภาพตอนกลางคืนที่แสงน้อย ดังนั้นก็เลยต้องพึ่งเซ็นเซอร์กล้องที่สามารถถ่ายภาพโดยไม่พบ noise หรือมี noise น้อย ในเวลาที่เราดัน ISO สูงๆ  ดังนั้นก่อนถ่ายภาพทางช้างเผือกควรศึกษาขีดจำกัดของกล้องของเราเสียก่อน

 

4. ใช้เลนส์ไวแสงมุมกว้าง

ในการถ่ายภาพทางช้างเผือกควรใช้เลนส์ไวแสงหรือเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างๆ อย่างน้อยก็สัก f/2.8 ยิ่งเป็นเลนส์ไวแสงยิ่งดี ส่วนทางยาวโฟกัสของเลนส์ควรมีระยะน้อยกว่า 35mm บนกล้องเซ็นเซอร์ Full Frame เพราะยิ่งใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ ยิ่งเก็บรายละเอียดในภาพได้มากกว่า

 

Photo by Steve Halama on Unsplash

 

5. ใช้ขาตั้งกล้อง

ขาตั้งกล้องที่ดีและมั่นคงเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าทองคำเมื่อถ่ายภาพในตอนกลางคืน การมีขาตั้งกล้องหมายถึงกล้องของเราจะนิ่ง เมื่อเราใช้สปีดชัตเตอร์นานๆ ซึ่งหากมือไม่นิ่ง ภาพก็เบลอได้

 

Photo by John Lemieux, on Flickr



6.ใช้ Live View หรือช่องมองภาพ

เพื่อเลี่ยงอาการปวดหัว เมื่อใช้ auto focus และพยายามหาจุดโฟกัสในตอนกลางคืน ให้ปิด auto focus และเปลี่ยนมาใช้ Manual Focus โดยใช้ Live view หรือช่องมองภาพ โดยเล็งไปที่ดวงดาวที่สว่างที่สุด และกดเครื่องหมายแว่นขยายเพื่อซูมภาพดู แต่จะไม่ใช่การซูมเปลี่ยนระยะ และค่อยๆ หมุนวงแหวนโฟกัสจนกว่าดวงดาวจะคมชัด   

Photo by Biel Morro on Unsplash  

 

7. เริ่มที่ ISO 3200

การใช้ ISO สูงๆ จะช่วยให้แสงเข้ามาในกล้องได้มากขึ้น และทำให้ภาพสว่าง เวลาเราถ่ายทางช้างเผือกที่แสงน้อย จึงต้องใช้ ISO สูงๆ ช่วย ควรเริ่มตั้งค่าที่ ISO 3200 แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าอื่นๆ ของกล้อง เช่น ค่าสปีดชัตเตอร์และค่ารูรับแสง ซึ่งก็สามารถปรับได้ว่าจะใช้ค่า ISO ที่สูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในตอนนั้นด้วย  

 

Photo by European Southern Observatory, on Flickr

 

8. ใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ

นี่เป็นอีกวิธีที่จะช่วยชดเชยแสง เพราะการเปิดสปีดชัตเตอร์นานๆ แสงจะเข้ามาในภาพได้มากขึ้น ภาพก็จะสว่าง แต่หากใช้สปีดชัตเตอร์นานเกินไป อาจทำให้เกิดดาวหมุน ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดดาวหมุน จากการใช้สปีดชัตเตอร์นาน ต้องนำ 500 ไปหารกับทางยาวโฟกัสของเลนส์ ยกตัวอย่าง หากมีเลนส์ 24mm บนกล้อง full frame จะต้องตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ 20 วินาที (500/24 = 20.83)

 

หากถ่ายภาพด้วยเซ็นเซอร์ crop เช่น กล้อง Nikon หรือ Sony ให้นำ 1.5 ไปคูณ ส่วน Canon คูณ 1.6 ก่อนนำไปหารกับ 500 ยกตัวอย่าง ถ้าใช้เลนส์ 24mm บนเซ็นเซอร์ crop ของ sony ก็เท่ากับได้ทางยาวโฟกัสที่ 36mm (24x1.5=36) และใช้กฎ 500 ก็จะได้สปีดชัตเตอร์ที่ 13 วินาที (500/36=13.89)    

 

การตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ควรลองตั้งค่าระหว่าง 20-30 วินาที แต่ถ้าใช้ ISO สูงๆ ก็ใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 20 วินาทีได้ หากใช้ ISO 1600-3200 ก็ใช้สปีดชัตเตอร์ที่ 30 วินาที

 

9. ตั้งค่ารูรับแสงกว้าง ๆ f เลขน้อย

ควรคำนึงเลยว่าการถ่ายทางช้างเผือกจะต้องชดเชยแสงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงต้องเลือกใช้เลนส์ไวแสง เพราะความชัดลึกของภาพอาจไม่ใช่เรื่องหลักที่เราต้องกังวล แต่การตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุดมักทำให้รายละเอียดในภาพไม่คมกริบ ให้ลองตั้งค่าที่ f/2 ก่อน และปรับตามที่เราต้องการ

 

10. White Balance

เมื่อถ่ายแสงเหนือควรปรับค่า White Balance ไปที่ Incandescent (aka Tungsten) จะเห็น blue hue หรือปริมาณของสีน้ำเงินที่ทำให้เกิด contrast  จึงเห็นทางช้างเผือกได้ชัดเจน แต่ก็สามารถลองตั้งค่า White Balance ที่ต่างกัน เพื่อให้ได้อุณหภูมิของสีที่ตัวเองชอบ นอกจากนั้นอย่าลืมถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW เพื่อแต่งภาพเพิ่มภายหลังด้วยโปรแกรม Lightroom หรือ Adobe  ลองตั้งค่า Incandescent/Tungsten นั้นก็ให้โทนสีที่ดีมาก

 

White Balance Settings for Milky Way Photography

 

10. จัดองค์ประกอบ

การจัดองค์ประกอบไม่มีถูกหรือผิด แต่ในการถ่ายทางช้างเผือก เราสามารถสร้างความลึกโดยการจัดเฟรมภาพให้คล้ายกับถ่าย Landscape ก็ได้ โดยใช้ทางช้างเผือกเป็นฉากหลัง และไม่ใช่ว่าถ่ายตอนกลางคืนแล้ว เราจะลืมฉากหน้าไปเพราะคิดว่ามืดจนมองไม่เห็น ควรหาฉากหน้าที่น่าสนใจเพิ่มเข้าไปในเฟรมภาพ เช่น ภูเขาหรือเนินเขาเล็กๆ ต้นไม้ โขดหิน แม้กระทั่งคน ก็ช่วยให้ภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น  

 

Photo by .Bala, on Flickr

 

11. การวัดแสง

 

Photo by Damian Witkowski, on Flickr

 

ก่อนลงมือถ่ายภาพทางช้างเผือกจริง ๆ ก็ควรวัดแสงและถ่ายภาพดูก่อน แต่ถ้ายังจัดองต์ประกอบและโฟกัสไม่ถูกใจ ก็ยังไม่ต้องกังวลกับการวัดแสง หากภาพมี noise เยอะไป ให้ลด ISO ลง ถ้าภาพเกิดสว่างจ้าเกินไป ก็เพิ่มสปีดชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น และใช้รูรับแสงแคบกว่าเดิม หรือจะลด ISO ก็ได้ นอกจากนี้ถ้าภาพมืดหรืออันเดอร์ ก็เปลี่ยนค่ารูรับแสงกว้างขึ้น เพิ่มสปีดชัตเตอร์ แต่ให้ระวังดาวหมุน และเพิ่ม ISO


ที่มา

digital-photography-school.com 

lightstalking.com  

digital-photography-school.com




Back to top