7 ไอเดียถ่ายภาพแนว Minimal

 

ทุกวันนี้สิ่งที่เรียบง่ายแต่โดนใจ ทำให้การถ่ายแนว minimal ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ช่างภาพพื้นฐานสำคัญของ minimal คือเรียบง่าย ทว่าสะดุดตา ยิ่งมีองค์ประกอบในภาพน้อย ๆ ยิ่งดีี แต่จะจัดองค์ประกอบน้อยๆ โดยที่มีความโดดเด่น เป็นการบังคับให้เราโฟกัสแค่วัตถุไม่กี่อย่าง ทำให้มองโลกด้วยมุมมองอีกแบบที่แตกต่าง บทความนี้มีไอเดียถ่าย minimal ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพ ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

 

1. Simple เข้าไว้

 

Photo by averie woodard on Unsplash

 

เมื่อพูดถึงภาพถ่ายสไตล์ minimal นั่นคือองค์ประกอบภาพยิ่งน้อยยิ่งดี เรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจเข้าไว้ และต้องแน่ใจว่าเมื่อเลือกตัวแบบในการถ่ายภาพแล้ว ฉากหลังก็ควรเกลี้ยง ๆ ไม่รก หรือไม่มีวัตถุอื่นดึงดูดความน่าสนใจจากตัวแบบหลัก หรือจะเปลี่ยนมุมมองการถ่ายภาพเพื่อเลี่ยงวัตถุอื่น ๆ ที่ปรากฎในฉากก็ได้ เพราะภาพจะยิ่งโดดเด่นกระแทกสายตา ซึ่งนั่นคือผลลัพท์ที่ดี

 

Photo by Rodion Kutsaev on Unsplash

 

 

2. เส้น

 

ในแง่ของงานศิลปะต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพ เส้นคือเทคนิคการจัดองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ใช้ดึงดูดสายตา แถมยังให้ภาพที่มีความชัดลึก นอกจากนี้ยังพบเห็นได้ง่ายตามที่ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น ถนนหรืออาคาร เมื่อนำมาใช้ในการถ่ายภาพ เส้นต่าง ๆ ก็แสดงความหมายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เส้นตรงแสดงถึงความเด็ดเดี่ยว และความแข็งแรง ส่วนเส้นโค้งก็ให้ความรู้สึกอ่อนไหว เมื่อได้โลเกชั่นที่มีเส้นสายแล้ว ก็อย่าลืมให้ฉากหลังคลีน ๆ แบบ minimal ด้วยละ

 

Photo by Jon Flobrant on Unsplash

 

 

3. Pattern

 

เช่นเดียวกับเส้น pattern หรือลวดลายที่เกิดซ้ำ ๆ กัน เพิ่มความโดดเด่นให้ภาพถ่ายได้ เมื่อนำมาจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ minimal ควรมองหาสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น อาคารหรือสะพาน ซึ่งเป็นสถานที่ยอดฮิต เมื่อต้องการหา pattern เจ๋ง ๆ จะถ่ายโดยเน้นอาคารก็ได้ หรือถ่ายเสยขึ้นไปโดยให้ท้องฟ้าอยู่ด้านบน

 

Photo by Samuel Zeller on Unsplash

 

Photo by Dmitri Popov on Unsplash

 

Photo by Tony Webster on Unsplash

 

 

4. Negative Space

 

Photo by Sasha&Dasha Bakani on Unsplash

 

Negative Space หรือพื้นที่ว่างทางลบ ก็คือพื้นที่รอบๆ ตัวแบบนั่นเอง เป็นการจัดองค์
ประกอบอย่างหนึ่งที่ยอดเยี่ยมของการถ่ายภาพสไตล์ Minimal ช่วยให้ภาพดูคลีน โดยมองหา Negative space เช่น กำแพงที่มีสีสันและฉากหลังเรียบ ๆ หรือจะใช้ท้องฟ้า ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่หาง่าย โดยแหงนกล้องขึ้น ให้ตัวแบบอยู่ข้างหน้า ส่วนฉากหลังเป็นท้องฟ้า

 

 

5. Contrast

 

Photo by Gareth Harper on Unsplash

 

Contrast หรือความเปรียบต่างก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นความเปรียบต่างของสี, pattern หรือรูปร่าง ล้วนเป็นการสร้างองค์ประกอบที่น่าสนใจ และทำให้ภาพดูมีพลัง แต่ในกรณีนี้จะพูดถึงการเปรียบต่างของสี ให้ลองหาสีที่ตั้งใจจะใช้ในภาพสัก 2 สี แต่ต้องเป็นคู่สีที่ตัดกัน เช่น ดอกไม้สีเหลืองตัดกับฉากหลังสีฟ้า หรือจะเลือกใช้ฉากหลังสีดำ แต่ตัวแบบหรือวัตถุที่จะถ่ายต้องมีสีตัดกัน
(ดูตัวอย่างคู่สีที่ contrast กัน จากภาพด้านล่างได้เลย)

 

Photo by Khai Sze Ong on Unsplash

 

 

 

6. ตัวแบบเป็น silhouette

 

Photo by Islam Hassan on Unsplash

 

เราสามารถเพิ่มความโดดเด่นให้ตัวแบบ ด้วยการถ่ายเป็น silhouette หรือวัตถุเงาทึบซะเลย โดยมองหาสถานที่โล่ง ๆ และถ่ายช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำ ส่วนเทคนิคการถ่าย silhouette สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม (เคล็ดลับการถ่าย silhouette)

 

 

7. เล่าเรื่องราว

 

เราสามารถสร้าง story ผ่านการถ่ายภาพแนว street ได้ โดยเลือกโลเกชั่นเจ๋ง ๆ และที่สำคัญต้องโล่ง ๆ ไม่รกด้วย เพื่อให้เป็น minimal และควรบอกเล่าเรื่องราวด้วยคนเพียงคนเดียว หากเป็นถนนสายที่วุ่นวาย จะขาดการโฟกัสที่ตัวแบบ แต่มีวิธีแก้คือถ่ายจากมุมสูง และมองหาสิ่งน่าสนใจเพิ่มเข้าไปในภาพ เช่น เครื่องหมายสีขาวบนถนน หรือเงา การถ่ายภาพในช่วงที่แสงแดดสดใส ก็จะช่วยสร้างเงาแข็ง ๆ ได้เช่นกัน

 

 

Photo by Mikito Tateisi on Unsplash

 

Photo by Alejandro Escamilla on Unsplash

Back to top