SONY NEX5 พาทัวร์สิงคโปร์
อยู่ดีๆ ก็ส้มหล่น ได้ทัวร์ฟรี บินฟรี กินฟรีอยู่ฟรี ไปสิงคโปร์ แจ็คพ็อทแตกแบบทูอินวัน ได้กล้องในฝัน SONY NEX5 กล้องอัลฟ่าขนาดเท่าคอมแพ็ค เปลี่ยนเลนส์ได้คุณภาพไฟล์เท่า DSLR เป็นอีกครั้งในหลายๆครั้งที่รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ทดสอบกล้อง เพราะเป็นกล้องเล็กเปลี่ยนเลนส์ได้ตัวแรกจากโซนี่ หลังจากคู่แข่งอย่างโอลิมปัส ซัมซุง พานาโซนิค ออกกล้องแบบไมโครโฟเติทมาก่อนหน้านี้ ถึงจะออกช้ากว่ายี่ห้ออื่น แต่จากการทดสอบต้องบอกคำเดียวว่า ช้าแต่ชัวร์ค่ะ |
เพราะว่ากล้อง Nex ยังใหม่มาก และยังไม่วางตลาด การถือกล้องไปสิงคโปร์ครั้งนี้ ถึงแม้จะไปกับคนที่คลุกคลีในวงการกล้อง มีเพียงคนเดียวที่ดูออกว่าเป็น Nex จากโซนี่ แถมยังมีคนทักผิดเป็นกล้อง EP1 จากโอลิมปัส คงเพราะการออกแบบที่คล้ายๆกัน ซึ่งคอนเซ็ปของกล้องลักษณะนี้คือ ออกแบบให้ขนาดเล็ก เปลี่ยนเลนส์ได้ และคุณภาพเท่า DSLR เมื่อ เทียบขนาดให้เห็นภาพชัดเจนเมื่อประกอบเลนส์คิท 18-55 แล้ว ขนาดโดยรวมจะเล็กกว่ากล้อง DSLR รุ่นเล็ก ครึ่งหนึ่ง |
ได้กล้อง NEX ก่อนเดินทางไปสิงคโปร์ ประมาณ 3 วัน ลูบๆคลำๆ ตัวบอดี้ รู้สึกแข็งแรงแน่นหนา พอๆกับสัมผัสกล้อง DSLR รุ่นใหญ่ ตัวบอดี้ผลิตจากแม็กนีเซี่ยมอัลลอยด์ การออกแบบยังเน้นให้ใช้งานง่าย มีกริ๊ปจับพร้อมหุ้มวัสดุเพิ่มแรงเสียดทานด้านขวา ด้านบนมีวงแหวนเปิดปิดกล้อง และชัตเตอร์จัดวางในตำแหน่งที่พอดี นอกจากนี้มุมบนขวายังมีปุ่มเพลย์ดูรูป และปุ่ม Movie สั่งการถ่ายภาพเหคลื่อนไหวพลิกกลับมาด้านหลังจะพบกับจอ LCD ขนาดใหญ่มาก (Extra Fine LCD) ความละเอียดสูง 921,600 พิกเซล ด้านขวาของจอ LCD ,วงแหวนควบคุมการทำงานของกล้อง และเนื่องจากถูกจำกัดด้วยขนาด จึงต้องใช้งานปุ่มร่วมกับ LCD |
มาต่อที่ตัวเลนส์กันบ้าง Nex เป็นกล้องตัวเล็กที่เปลี่ยนเลนส์ได้ (E - mount) แม้ตอนนี้จะมีเลนส์ให้เลือกเพียง 3 รุ่น คือ sel18-55 , sel16 mm. f2.8 และ sel18-200 แต่ถ้าอยากใช้กับเลนส์ของโซนี่ และมินอลต้า สามารถใช้ได้โดยผ่าน Adapter แต่จะไม่สามารถออโต้โฟกัสได้ |
การไปเที่ยวครั้งนี้มีโอกาสได้ใช้ sel 18 -55 ทั้งทริป วัสดุที่ใช้ และความแข็งแรง ดีกว่าเลนส์ คิทกล้อง DSLR แต่น้ำหนักมากกว่า และกลับมาลองเล่น 16 mm.F2.8 ที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียวกัน ส่วนเรื่องคุณภาพต้องตัดสินจากภาพถ่ายในทริปนี้กันเองค่ะ |
คุณสมบัติเด่น |
ไปสิงคโปร์ 3 วันสองคืน เจอกับสภาพอากาศแปรปรวน เช้าแดดออก บ่ายฝนตก เย็นอากาศหนาว คนทนไม่ไหวป่วยกันไปตามๆกันแต่กล้องยังทนได้ ไม่งอแง ออกเดินทางจากกรุงเทพถึงสิงคโปร์เวลาบ่าย ขาดทุนเวลาไป 1 ชั่วโมงเพราะเวลาที่นี่เร็ววกว่าเมืองไทยด้วยเหตุผลทางธุรกิจ สถานที่เที่ยวที่แรกที่ทัวร์พาไปคือ สิงคโปร์ ฟรายเออร์ ชิงช้าสวรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในวันฝนพรำ |
ก่อนขึ้นไปไกด์เล่าให้ฟังว่า กระเช้านี้เคยปิดให้บริการช่วงหนึ่ง เพราะระบบขัดข้อง คนสุดท้ายที่โรยตัวลงมาได้ ค้างอยู่บนนั้น 7 ชั่วโมง ไม่มีน้ำไม่มีอาหารไม่มีแพมเพิส (จะเล่าให้กลัวทำไมเนี่ย) แต่เดี๋ยวนี้อนุญาติให้นำน้ำขึ้นไปได้ และมีกล่องยังชีพอยู่ใต้เก้าอี้ภายในกระเช้า |
ก่อนจะขึ้น มีบูธให้ถ่ายรูปก่อน ทุกคนต้องผ่านด่านนี้ เค้าจะนำรูปของเราไปใส่ในฉากหลังที่มีอยู่แล้ว ถ้าเราถูกใจก็ซื้อกลับบ้านหลังจากลงมาแล้ว ราคาก็ไม่แพงมากค่ะ รูปละ 4 ร้อยกว่าบาทเอง (แต่สำหรับคนไทยอย่างเราไม่ถูกเลยค่ะ) |
ก้าวขาขึ้นกระเช้า ต้องอาศัยจังหวะเพราะกระเช้าจะไม่หยุดรอเรา เราจะค่อยๆหมุนขึ้นอย่างช้าๆ ไม่ทำให้เวียนหัว แต่ยิ่งสูงก็ยิ่ง เสียว และวิวสวย ไปพร้อมๆกัน มองลงไปด่านล่างเหมือนเรากำลังบินอยู่บนฟ้า พี่ไกด์บอกว่าถ้าในวันฟ้าใส จะมองเห็นได้ถึงอินโดนีเชีย แต่ด้วยความโชคดีของเรา คือฝนตกไม่หนัก ยังสามารถมองเห็นวิวและถ่ายภาพได้ พร้อมทั้งมีเม็ดฝนเป็นฉากหน้า ก้าวขึ้นไปที่กระเช้า รู้สึกกลัวมากกว่าตื่นเต้น เพราะ เป็นกระเช้ากระจกมองเห็นได้รอบทิศทาง |
เซ็นเซอร์แบบ APS HD CMOS (APS-C) ขนาด 14.2 ล้านพิกเซล |
ช่วงเลนส์ 49 ช่องรับแสง 5 ชัตเตอร์สปีท 1/40 วินาที ความไวแสง(iso)1600 |
ที่ที่ไม่ควรพลาดสำหรับชาวพุทธที่ชอบถ่ายภาพ คือวัดจีนที่สวยที่สุดในสิงคโปร์ Buddha Tooth Relic เดินเข้าไปภายในวัด พบกับโคมเทียนที่รายล้อมไปด้วยดอกมะลิ คิดว่าน่าจะเป็นของบูชาเหมือนบ้านเรา สภาพภายในแสงค่อยข้างน้อย แต่ก็ดูอลังการมาก ได้ยินเพื่อนร่วมกรุ๊ปทัวร์บ่นว่าไม่ค่อยได้รูปเพราะแสงไม่เพียงพอ แต่สำหรับกล้อง Nex5 ไม่ใช่ปัญหาถึงแม้ความไวแสงสูงถึง 1600 ภาพที่ได้ก็ยังเนียน ไม่เสียรายละเอียด |
ช่วงเลนส์ 18 ช่องรับแสง 3.5 ชัตเตอร์สปีท 1/30 วินาที ความไวแสง(iso) 800 |
ขึ้นลิฟท์ไปชั้น 3 ดูการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ชั้นนี้แสงยิ่งน้อยลงกล้องคำนวณความไวแสงไปถึง 1600 ทำงานร่วมกับระบบกันสั่น ลองซูมดูไฟล์ภาพ ถือว่าเนียนมากสอดคล้องกับหลักการ ที่เค้าว่ากันว่า เซ็นเซอร์แบบเซ็นเซอร์แบบ APS-C ไฟล์จะเนียนกว่า four-thrid (จากที่ลองมา) โดยจะเห็นผลได้ชัดเจนในที่แสงน้อย พูดกันเข้าใจง่ายๆก็คือเซ็นเซอร์แบบ APS-C ใหญ่กว่าก็เลย ได้เปรียบอยู่แล้ว บวกกับซ็อฟแวย์ที่ระบบการทำงานเหมือนกับกล้อง Cyber ? Shot รุ่นหลังๆ ที่นอกจากจะจัดการสัญญาณรบกวนที่ความไวแสงสูงๆได้ดีแล้ว ยังจัดการถ่ายซ้อนหลายๆ ช็อทแล้วนำมาประมวลผลรวมกัน ในที่แสงน้อยที่กล้องปรกติถ่ายไม่ได้ถ้าไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ก็เลยทำให้ลืมปัญหา เข้าที่แสงน้อยแล้วภาพเบลอ รับประกันได้ว่า ใครเห็นไฟล์จริงก็ต้องทึ่งค่ะ |
ช่วงเลนส์ 55 ช่องรับแสง 5.6 ชัตเตอร์สปีท 1/30 วินาที ความไวแสง(iso)1600 |
เดินขึ้นบันไดเลยขึ้นไปชั้นดาดฟ้า ภายในมีสวนกลางแจ้ง และที่ให้หมุนพอครบรอบระฆังก็จะตี หมุนไปสามรอบเริ่มเวียนหัว ดูนาฬิกาแล้วก็ยังไม่ถึงเวลานัด เลยเดินชมสวนบนตึกต่ออีกนิด ฝนก็เทลงมา |
ถ่ายโดยเพื่อนร่วมทริป ปรับโหมด S ให้คนเคลื่อนไหว |
ฉากหลังนอกโฟกัส หน้าชัดหลังเบลอ (กระจาย) |
ภาพตัวอย่าง : ถ่ายที่วัดจีนสภาพแสงขณะฝนตก เลนส์ 18-55 ซูมสุด ที่ F 5.6 Speed 100s ISO 400 |
เมื่อฝนตก เลยต้องติดฝนอยู่ในร่มสักพัก ระหว่างรอก็ซูมถ่ายดอกไม้ในสายฝน พอกดดูรูปก็ต้องตกใจ นึกว่าเลนส์มาโคร ถ้าจะให้เทียบมาตรฐานเลนส์คิท 18-55 ที่เคยผ่านมือมาแทบทุกยี่ห้อ ต้องบอกให้ลืมความรู้สึกคิทของกล้อง DSLR ปรกติไปได้เลย เพราะมีสิ่งที่เหมือนกันแค่ช่วงของเลนส์ 18-55 แต่ภาพเหมือนเลนส์คิทผสมกับเลนส์มาโครหรือเลนส์ฟิก ทิ้งฉากหลังได้เบลอ จนบางครั้งคิดในใจ จะเบลอกระจายไปไหนเนี่ย ยิ่งหากโฟกัสระยะใกล้ ระยะชัดจะต่ำมาก เป็นเพราะเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ หรือมีซ๊อฟแวย์ช่วยด้วย(อันนี้ไม่แน่ใจ) ส่งผลให้ละลายฉากหลังเวลาซูม สัดส่วนภาพเหมือนระยะที่ตาเห็น ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่าง DSLR กับกล้องคอมแพ็คที่เมื่อซูมสัดส่วนของภาพจะเหมือนกับการคร็อปมา แถมยังสามารถหมุนวงแหวนควบคุมระยะชัดสั่งการได้แค่นิ้วเดียว ในโหมด I ออโต้ สำหรับผู้ที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพ หรือขี้เกียจปรับกล้อง |
ตุ๊กตาของที่ระลึก |
พานอราม่าด้วยมือเปล่าในช็อทเดียว |
ก่อนจะกลับจากวัดจีน นึกขึ้นได้ว่ากล้องเราถ่ายพานอราม่าได้ด้วย เลยเข้าไปเก็บอีกสองสามรูป โหมดถ่ายพานอราม่าของกล้อง NEX5 ยังไม่เสถียรเท่าที่ควร มีปัญหาเหมือนกล้อง Cyber-Shot รุ่นแรกๆ ต้องแพนกล้องช้าๆ และห้ามถ่ายวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว ไม่เช่นนั้นสัดส่วนจะเพี้ยนหรือขาดตอน ส่วนเรื่องคุณภาพไฟล์สอบผ่านแน่นอน แต่มีข้อเตือนสำหรับใครที่จะถ่ายโหมดนี้ในที่เงียบๆ ต้องระวังสายตาคนอื่นสักนิดค่ะ เพราะพอกดชัตเตอร์ปุ๊ป จะรัวเหมือนยิงปืนกล ถือว่าเตือนกันแล้วนะคะ |
โหมดถ่ายภาพง่ายอย่างกล้องคอมแพ็ค I auto |
ที่ต่อไปที่จะพาไปเที่ยว คือยูนิเวอร์แซล สวนสนุกเปิดใหม่ ที่ชั้นได้ดินเป็นคาสิโน ลงจากรถปรับกล้องไปที่โหมด I ออโต้ อ่านถึงตรงนี้อาจมีคนคิดในใจ แหมซื้อกล้องมาแพงปรับแต่โหมดออโต้ ต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่าโหมดนี้เหมาะกับทุกคน ไม่ว่าคุณจะมีความรู้เรื่องการถ่ายภาพน้อย ไปจนถึงมาก เพราะบางครั้งการไปเที่ยว เราก็ต้องการสนุกกับสิ่งที่เราไปพบเจอที่สุด และก็อยากได้ภาพที่สวยที่สุดกลับบ้านด้วย ถ้าจะให้มานั่งคำนวณ ต้องใช้รูรับแสงเท่าไร ชัตเตอร์สปีทเท่าไร ความไวแสงเท่าไร เดี๋ยวจะหมดสนุกกันพอดีค่ะ |
เป็นความโชคดีที่เทคโนโลยี่สมัยนี้พัฒนาให้กล้องฉลาดขึ้น เหมือนปรับไปที่โหมดนี้กล้องจะคำนวนการตั้งค่ากล้องให้เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเล็งกล้องย้อนแสง กล้องก็รู้ มาโคร กล้องก็เข้าใจ แสงน้อยก็ปรับตัวตามอีก ถ้าได้เป็นแฟนคงเพอเฟ็ค เอาเป็นว่าไว้ใจได้ 98 เปอร์เซ็นได้รูปสวยแน่นอนค่ะ ส่วนอีก 2 เปอร์เซ็น ก็ต้องยอมรับค่ะว่า มันก็มีข้อผิดพลาดกันบ้าง เป็นธรรมชาติของโลกมนุษย์ค่ะ |
โดยสรุป |
ความรู้สึกสำหรับกล้อง Sony nex5 เป็นกล้องที่ประทับใจอีกตัว เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเบื่อกับการแบกกล้องใหญ่ๆ ที่รู้สึกเป็นภาระในการเที่ยว หรือมีปัญหาปวดหลัง เมื่อต้องแบกเป้ใบใหญ่ เปลี่ยนเลนส์ได้ คุณภาพภาพสวยมาก โดยเฉพาะในที่แสงน้อยทำงานได้ดีเยี่ยม สามารถนำมาตบแต่งในคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่เสียรายละเอียด(สามารถถ่าย Raw File) ด้วยเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ทำให้สามารถควบคุมชัดลึก(ภาพนิ่ง + วีดีโอ) ทำหน้าชัดหลังเบลอเหมือนกล้อง DSLR |
จุดเด่น |
- ตัวกล้องมีขนาดเล็ก แต่เซ็นเซอร์ใหญ่เท่า DSLR - สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ - คุณภาพภาพดีมาก - ถ่ายในที่แสงน้อยได้ดี - สามารถควบคุมชัดลึกได้ง่ายเพียงการหมุนวงแหวน - ถ่ายวีดีโอแบบ AVCHD - ถ่ายวีดีโอในที่แสงน้อยได้ดี - ระบบกันสั่นในโหมดการถ่ายวีดีโอดีมาก - สามารถถ่ายพานอราม่าได้ - ถ่ายต่อเนื่อง 7 เฟรม ต่อวินาที - โหมด iออโต้ ฉลาด - ผลิตจากวัสดุแข็งแรง - จอ LCD ความละเอียดสูงปรับแสงอัตโนมัติ ปรับองศาได้ |
จุดด้อย |
- ในโหมดพานอราม่า ยังต่อได้ไม่เนียนนักเมื่อเจอวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว - การทำงานเมื่อเปิด/ปิดกล้อง หรือสับเปลี่ยนระหว่างถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอ ค่อนข้างช้า - ยังมีเลนส์ให้เลือกเพียง 3 รุ่น |
ขอขอบคุณ กล้องดิจิตอล ดอทคอม เรื่อง/ภาพ ชนาภา วรรณพักตร์ |