เคล็ดลับการถ่าย Night Cityscape

 

 

Jimmy Mcintyre ช่างถ่ายภาพท่องเที่ยว ที่ภาพของเขาได้รับการตีพิมพ์ลงแม็กกาซีนท้องถิ่นและแม็กกาซีนระดับประเทศ อย่างเช่น BBC และเขายังเปิดคอร์สออนไลน์สอนการแต่งภาพอีกด้วยด้วย ซึ่งในบทความนี้ Jimmy ได้แชร์ทิปในการถ่ายภาพ Cityscape ในเวลากลางคืนและช่วง Golden hour  แต่นอกจากเทคนิคต่อไปนี้แล้ว เขายังแนะนำว่าความอดทนและการฝึกฝนจะทำให้คุณได้ภาพถ่ายที่โดดเด่นมาครอบครอง

 

Busan city skyline by Jimmy Mcintyre on 500px

 

cityscapes

A Golden Hong Kong Morning by Jimmy Mcintyre on 500px

 

 

  1. ถ่ายโดยใช้โหมด Aperture Priority

     โหมดถ่ายภาพที่ช่างภาพ Cityscape มักใช้กันคือ Aperture Priority (AP) และ Manual ซึ่งโหมด AP หรือโหมด A, AV ขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่น โหมดนี้สามารถปรับค่ารับแสงและค่า ISO ได้  

ยกเว้นสปีดชัตเตอร์ เพราะหากใช้โหมด auto ถ่ายภาพในที่แสงน้อย และกล้องดัน ISO ให้สูง ก็อาจเกิด noise การเปลี่ยนไปใช้โหมด AP ก็ทำให้ปรับ ISO ต่ำๆ ได้ หรือใช้โหมด Manual ปรับค่าทุกอย่างด้วยตนเอง

 

2. ใช้โหมดคร่อมแสง

      การถ่าย Cityscape มี dynamic range ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีแสงสว่างในเมือง และจะพบพื้นที่ที่สภาพแสงมีความซับซ้อน คือสว่างและมืดในภาพหนึ่งใบ ซึ่งกล้องไม่สามารถเก็บ

รายละเอียดได้ครบ หากวัดแสงและถ่ายเพียงแค่ภาพเดียว ก็อาจได้ภาพที่โอเวอร์หรืออันเดอร์จนเกินไป แต่มีวิธีแก้ไขง่ายๆ คือเปลี่ยนไปใช้โหมด bracketing หรือโหมดคร่อมแสง ซึ่งต้องถ่ายภาพหลายใบที่มีค่ารับแสงต่างกัน

 

over exposed

 

ผู้เขียนใช้โหมดคร่อมแสง และเลือกมา 4 ภาพ (ดูตัวอย่างจากภาพด้านล่าง)  โดยสร้างสรรค์ให้ได้ภาพถ่ายที่คมชัดและเก็บรายละเอียดได้ครบ ด้วยโปรแกรมแต่งภาพภายหลัง

 

bracket-for-cityscapes

 

(ภาพที่ถ่ายคร่อมแสง 4 ใบ)

 

hong-kong-the-peak-view

 

(ภาพสุดท้ายซึ่งแต่งภาพเรียบร้อยแล้ว)

 

3. Manual Focus

     เลนส์รุ่นใหม่ ๆ มีการพัฒนาความเร็วและความคมชัดของ Auto Focus ผลลัพธ์ของภาพถ่ายจึงน่าทึ่งมาก หมดความกังวลเรื่องโฟกัสวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วๆ แต่ควรเปลี่ยนไปใช้ Manual Focus เพราะจะให้ภาพที่คมชัดกว่า Auto Focus   

 

แต่ในกรณีที่ถ่ายภาพในที่แสงน้อย และจุดที่ต้องการโฟกัสอยู่ไกลออกไป ควรเปลี่ยนไปใช้ Live View และกดปุ่มแว่นขยาย เพื่อซูมเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการโฟกัส ค่อยๆ หมุนวงแหวนโฟกัสจน

คมชัด ถึงค่อยกดถ่าย



4. แสงไฟเป็นเส้นสาย

      การถ่ายแสงไฟเป็นเส้นสายช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้ภาพถ่าย ซึ่งสามารถถ่ายและแต่งภาพภายหลังได้

 

Hong Kong Light Trails done

 

เริ่มแรกให้ถ่ายฉากทั้งหมดที่ต้องการก่อน โดยให้ภาพคมชัด และไม่ต้องคำนึงถึงแสงไฟรถยนต์ ส่วนภาพต่อไปให้ถ่ายโดยใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ซึ่งปรับสปีดชัตเตอร์ที่ 25-30 วินาที จะทำให้เราจับภาพแสงไฟรถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ให้เป็นเส้นสายที่สวยงาม และอย่าลืมพกขาตั้งกล้อง ใช้รูรับแสงแคบ

(ค่า f มาก ๆ) ถ่ายหลาย ๆ ภาพตามต้องการ เมื่อได้ภาพที่พอใจก็ใช้โปรแกรม Photoshop แยกเลเยอร์ของแสงไฟที่เป็นเส้นสายลงในภาพแรก

 

light trails

(ภาพแสงไฟที่เป็นเส้นสาย 6 ภาพ และแต่งภาพรวมป็นภาพถ่ายด้านบนเพียงหนึ่งใบ)

 

5. ถ่ายผ่านกระจก

     ช่างภาพแนว Cityscpae อาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะถ่ายภาพผ่านกระจกบนตึกสูง  เพราะบางครั้งจุดถ่ายภาพที่ดีที่สุดคือบนนั้น ซึ่งจะเห็นทัศนียภาพรอบ ๆ ได้กว้างไกลมาก แต่บางครั้งกระจกก็มีคราบสกปรกและมีแสงสะท้อนจากดวงไฟในตึก ดังนั้นควรวางเลนส์ไว้ใกล้ ๆกระจกให้มากที่สุด และคลุมด้วยผ้าสีดำด้านหลัง จะทำให้แสงไฟในตึกไม่ปรากฏในภาพ ดูตัวอย่างจากภาพด้านล่าง

 

 

ส่วนวิธีถ่ายภาพไม่ให้เห็นคราบสกปรกบนกระจก ควรใช้รูรับแสงกว้าง (f เลขน้อย) ถ้าใช้รูรับแสงแคบถ่ายอาจเห็นคราบสกปรกที่ปรากฏบนภาพถ่าย ลองถ่ายภาพโดยใช้ค่ารับแสงหลาย ๆ ค่า จนกระทั่งภาพของคุณปราศจากสิ่งสกปรกและยังคมชัดอยู่

 

(ภาพด้านล่าง ถ่ายด้วย f8 ซึ่งไม่เห็นคราบสกปรกบนกระจก)

 

 

chicago cits small

 

6. ไปถึงโลเกชั่นเร็ว ๆ

     ช่างภาพหลายคนชอบถ่ายภาพที่จุดถ่ายภาพยอดนิยม ซึ่งอาจทำให้ถ่ายติดผู้คนมาในภาพ

ดังนั้นควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลาอย่างน้อยสักสองชั่วโมง เพื่อให้ภาพถ่าย Cityscape ของคุณโดดเด่นและสวยงาม   

 

photographers in seattle

seattle skyline small1



ที่มา

iso.500px.com




Back to top