Photo by Mohamed Nohassi on Unsplash
มือใหม่ที่เพิ่งได้กล้องมาหมาด ๆ มักจะทำพลาดในเรื่องเดิม ๆ อยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่ถ่ายให้เส้นขอบฟ้าเอียง หรือโฟกัสผิดจุด ดังนั้นเพื่อเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะถ่ายภาพ บทความนี้จึงนำเสนอข้อผิดพลาด ที่มือใหม่มักเคยทำ และวิธีแก้ไขเพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวย ๆ ไม่แพ้ช่างภาพมืออาชีพ ลองไปอ่านกันเลย
-
แสงไม่สวย
หนึ่งในคำถามที่มือใหม่มักถามกัน คือทำไมภาพถึงออกมาไม่สวย ซึ่งข้อนี้จะมาพูดถึงเหตุผลหลัก ๆ คือ เรื่องแสง เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญในฉาก เราต้องเข้าใจสภาพแสงและเรียนรู้ให้ดีเช่น แสงแบบไหนเหมาะกับการถ่ายภาพแนวไหน และแสงที่มาจากทิศทางต่างกันมีผลต่อภาพถ่ายยังไง
ยกตัวอย่าง ภาพ Landscape มักสวยงาม เมื่อได้แสงสีทองเรืองรองในภาพ ดังนั้นก็ควรถ่ายภาพตอนดวงอาทิตย์เพิ่งขึ้น หรือช่วงเย็นก่อนดวงอาทิตย์ตก หรือช่วง Golden hour นั่นเอง แต่ถ้าถ่ายภาพอาหาร หรือถ่าย Portrait ให้ลองใช้แสงธรรมชาติ หากเป็นวันที่ท้องฟ้ามีเมฆมากยิ่งดีใหญ่ เพราะแสงจะไม่จ้าเกินไป ดังนั้นควรใช้เวลาศึกษาสภาพแสงแต่ละแบบเหมาะกับภาพถ่ายแนวไหน และลองปรับดูตามภาพแต่ละแนว
2. โฟกัสผิดจุด
การโฟกัสให้ถูกจุดเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายภาพ ถ้าโฟกัสผิดจุดหรือกล้องสั่น ก็ทำให้คนหรือสิ่งของนั้นๆ เบลอได้ ซึ่งเหตุผลหลักที่มืือใหม่มักทำพลาดคือใช้โหมด autofocus ที่ปล่อยให้กล้องโฟกัสเอง แต่บางครั้งกล้องอาจหลุดโฟกัสไปที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวแบบ ทำให้ตัวแบบเบลอ ต้องปิด autofocus และเปลี่ยนมาใช้ manual focus และใช้การซูม เพื่อดูว่าเลือกจุดโฟกัสถูกต้องแล้ว และค่อย ๆ ใช้เวลาจัดองค์ประกอบภาพ ต้องอดทนและฝึกฝนถ่ายภาพบ่อย ๆ
โฟกัสไปที่ถังน้ำ แทนที่จะเป็นผู้ชาย
3. เส้นขอบฟ้าเอียง
เส้นขอบฟ้าเอียงคือหนึึ่งในความผิดพลาดของมือใหม่ ภาพที่มีเส้นขอบฟ้าไม่ตรง จะดูเอียงและไม่สวยงามนัก มีทางแก้คือใช้ขาตั้งกล้อง เพราะขาตั้งมีวัดระดับน้ำช่วยในการถ่ายภาพ Landscape ได้มาก หรือในกล้องบางรุ่นจะมีระดับน้ำอยู่ ส่วนการตั้งค่าให้ลองเช็กจากคู่มือ แต่ถ้าไม่มีทั้งสองสิ่งนี้ ก็ต้องระมัดระวังให้เส้นขอบฟ้าอยู่ตรง ๆ โดยมองผ่านช่องมองภาพหรือจอ LCD
4. Noise มากเกินไป
ปัญหาอีกอย่างที่มือใหม่มักต้องเผชิญคือ ถ่ายภาพมาแล้วไม่คมชัด โดยเฉพาะเมื่อถ่ายในที่แสงน้อย ยกตัวอย่าง ถ่ายตอนกลางคืน จำเป็นต้องดัน ISO ขึ้น เพื่อให้ภาพสว่าง ดังนั้นจึงต้องเข้าใจการจัดการ noise บนกล้องของรุ่นที่เราใช้ คือเปิด ISO ได้สูงสุดที่เท่าไรแล้วไม่เกิด noise และต้องลด ISO ลงไม่ให้สูงเกินไปจนเกิด noise
Example of noise in a digital image. © Liz Masoner, Published on About Photography, http://photography.about.com
(ตัวอย่างภาพถ่ายที่มี noise ถ่ายที่ ISO 6400 แถมภาพยังอันเดอร์)
5. คร็อปภาพไม่ดี
การคร็อปภาพก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อภาพถ่ายของคุณ เพราะการคร็อปภาพช่วยให้ภาพถ่ายสวยงามได้ หากมีบางสิ่งเกินมาในภาพถ่าย เราก็สามารถใช้การคร็อปภาพช่วยเพื่อให้ตัวแบบเด่นขึ้น
แต่การคร็อปแบบผิด ๆ เช่นคร็อปเฉพาะตัวแบบและไม่เห็นบรรยากาศรอบ ๆ ที่สวยงาม อาจทำให้สื่อสารได้ไม่ครบหรือพลาดบางอย่างไป ดูตัวอย่างจากภาพด้านล่าง
6. ลืมไอเท็มบางอย่าง
บางครั้งเราอาจมองข้ามบางสิ่งจนเจอปัญหาที่คาดไม่ถึง เช่น เปิดกล้องไม่ได้ เพราะแบตเตอรี่หมดและไม่ได้ชาร์จแบตเตอรี่ไว้ หรือบางคนลืมนำเมมโมรี่การ์ดสำรองติดตัวไปด้วย ก่อนถ่ายภาพควรโอนถ่ายรูปภาพในเมมโมรี่การ์ดไปไว้ในคอมฯ และควรระวังถ่ายภาพบางประเภท เช่น ใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ที่ทำให้แบตเตอรี่หมดไวกว่าปกติ อย่าลืมว่า ถ้าถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW ซึ่งมีขนาดใหญ่ ควรคำนึงถึงเมมโมรี่การ์ดที่มีความจุมาก ๆ หน่อย
ที่มา
digital-photography-school.com