5 เคล็ดลับในการถ่ายภาพ Panning

 

การถ่ายภาพไม่ใช่แค่ถ่ายให้ออกมาคมชัด และเห็นรายละเอียดครบถ้วน บางครั้งเราก็ต้องการภาพถ่ายที่สร้างสรรค์ ภาพถ่ายเบลอ ๆ และภาพถ่ายแบบ Abstract เพื่อให้ภาพถ่ายดูโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ดังนั้นช่างภาพที่กำลังมองหาไอเดียดี ๆ นี่คือ 5 เทคนิคในการ Panning เพื่อศิลปะที่สวยงามในการถ่ายภาพ

 

 

 

1. ถ่ายภาพตัวแบบที่มีการเคลื่อนที่

 

 

ส่วนมากมักใช้การ Panning กับตัวแบบที่มีการเคลื่อนที่ เช่น การถ่ายภาพการแข่งขันกีฬา เด็กวิ่งเล่น สัตว์เลี้ยงที่ซุกซน มอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ที่เคลื่อนที่เร็ว ๆ หรือจะใช้เก็บภาพคนที่อยู่บนเครื่องเล่น ชิงช้าสวรรค์และบนบันไดเลื่อนก็ได้เหมือนกัน เพราะการใช้เทคนิคนี้ช่วยให้ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่คมชัด ในขณะที่ฉากหลังเบลอ โดยภาพถ่ายยังคงไว้ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวแบบ

ถ่ายอย่างไร ? ก่อนอื่นให้เปลี่ยนไปใช้โหมด continuos shooting หรือที่เรียกว่า โหมด burst หรือ bracket เป็นโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง ส่วนจำนวนภาพที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่น เมื่อถ่ายเสร็จสามารถมานั่งเลือกภาพที่เพอร์เฟ็คท์สุดภายหลังได้ จากนั้นเปลี่ยนไปใช้โหมด manual focus เพื่อให้กล้องโฟกัสไปที่ตัวแบบ ไม่ใช่ฉากหลัง และควรใช้ขาตั้งกล้องด้วยเพื่อความสะดวกเวลาแพนกล้องตามตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่

ส่วนการตั้งค่าสปีดชัตเตอร์จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความเร็วของตัวแบบและระยะห่างของตัวแบบกับผู้ถ่าย โดยปกติจจะใช้สปีดชัตเตอร์ระหว่าง 1/100 และ 1/4 หรือจะใช้ตั้งแต่ 1/60 ก็ได้เช่นกัน

เมื่อตั้งค่ากล้องเรียบร้อยแล้ว เวลาถ่ายภาพควรเริ่มการแพนกล้องติดตามตัวแบบที่กำลัง
เคลื่อนที่ ตัวแบบควรอยู่ในโฟกัสและรอจนกระทั่งตัวแบบอยู่ตรงหน้าก่อน แล้วค่อยกดชัตเตอร์ ยิ่งใช้
สปีดชัตเตอร์นานๆ พื้นหลังก็ยิ่งเป็นเส้นสายที่สวยงาม

 

 

2. ถ่าย Landscape แบบ Abstract

 

 

การ panning ไปตามแนว horizontal หรือเส้นขอบฟ้า ทำให้ได้ภาพถ่าย Landscape แบบ Abstract อันน่าทึ่ง ไม่ว่าจะถ่ายทุ่งนาหรือท้องทะเล ยิ่งถ่ายถูกวิธีจะได้ภาพที่ให้อารมณ์อาร์ต และเหมือนกับภาพวาดเลยทีเดียว หรือจะใช้กับการถ่ายภาพที่มีความ contrast มากๆ ทำให้ได้ภาพถ่าย Landscape แบบแพน ๆ ที่สวยงาม

ถ่ายอย่างไร ? : การ panning คือการขยับกล้องไปมานั่นเอง จึงควรใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ขยับกล้องเอียงไปมา ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพดูมีคลื่นมาก การตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ ควรใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ประมาณ 4 หรือ 5 วินาที จะได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ส่วนการโฟกัสให้โฟกัสจุดใดจุดหนึ่งที่เส้นขอบฟ้า แล้วแพนกล้องช้า ๆ ไปตามแนวเส้นขอบฟ้า กดปุ่มชัตเตอร์ทันทีที่เริ่มแพนกล้อง ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งชัตเตอร์หยุดทำงาน
ถ้าได้ภาพถ่าย over-expose หรือภาพที่สว่างจ้าเกินไป ควรลองใช้รูรับแสงแคบ ๆ ประมาณ f16 หรือจะลองใช้ฟิลเตอร์ ND เพื่อลดแสงในภาพ และควรถ่ายช่วงบ่ายแก่ ๆ ที่แสงไม่จ้า เพื่อที่เราจะ
สามารถใช้สปีดชัตเตอร์นาน ๆ ได้

 

 

3. ต้นไม้แบบ Abstract

 

 

การ panning ไปตามเส้นขอบฟ้าใช้กับภาพถ่าย Landscape แต่เมื่อใดที่ต้องการเก็บภาพวัตถุที่ตั้งฉากกับขอบฟ้า หรือแนว Vertical เช่น ต้นไม้ ใบหญ้า จะต้องลองถ่าย panning แบบแนวตั้งบ้าง ภาพที่ได้ก็จะคล้ายกับภาพวาด ช่วยให้วัตถุดูยาวขึ้นและมีความเบลอแบบผลงานชิ้นเอกอันงดงาม

ถ่ายอย่างไร ? : ในการถ่าย panning แบบ Vertical ควรใช้โหมด manual focus และตั้งค่าสปีดชัตเตอร์เองจะดีที่สุด โดยใช้สปีดชัตเตอร์ประมาณ 1.5 ถึง 2 วินาที ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในตอนนั้น และตั้งค่ารูรับแสงแคบ เพื่อให้ใช้สปีดชัตเตอร์ได้นานขึ้น การโฟกัสให้เริ่มโฟกัสตรงพื้นที่ที่เป็นฐานของต้นไม้ แล้วแพนกล้องขึ้นด้านบนช้า ๆ เมื่อแพนกล้องไปจนถึงยอดต้นไม้ ค่อยปล่อยปุ่มชัตเตอร์

 

 

4. วงกลมแบบแพน ๆ

 

 

ภาพถ่าย Panning แบบวงกลมเป็นภาพถ่ายที่ดึงดูดสายตามาก ส่วนใหญ่เทคนิคนี้ใช้ในการจับภาพยอดของต้นไม้ลงมาถึงพื้นป่า หรือถ่ายภาพที่สีละลายกันเป็นวงกลม แต่ทริคง่าย ๆ ในการจับภาพชนิดนี้คือต้องมี contrast ของสีและแสงที่ดีมาก

ถ่ายอย่างไร ? : สำหรับการแพนกล้องเป็นวงกลม จำเป็นต้องหาจุดนำสายตาในภาพ และหมุนกล้อง
ช้า ๆ โดยหมุนจากแนว vertical ไปแนว horizontal แต่จะทำอย่างไรให้ภาพออกมาโดดเด่นและสวยงามกว่าคนอื่น ๆ ? ควรลองใช้การแพนและการซูมพร้อมกัน เปลี่ยนไปใช้โหมด manual focus และค่อย ๆ หมุนเลนส์ แทนที่จะหมุนกล้อง และเทคนิคนี้สามารถทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ starburst ในภาพได้มากขึ้น

 

 

5. เกลียวคลื่นแบบ Abstract

 

 

คุณเคยลอง panning กับคลื่นกันมั้ย ? เพราะคลื่นแบบแพน ๆ ทำให้เกิดภาพ abstract ได้อย่างน่าทึ่ง

ถ่ายอย่างไร ? เริ่มแรกหาตำแหน่งถ่ายภาพตรงมุมของคลื่น เพื่อให้ได้ภาพเกลียวคลื่นก่อนที่จะแตกตัวเป็นละอองน้ำ สำหรับการตั้งค่ากล้อง ลองใช้สปีดชัตเตอร์ช้าประมาณ 1/30 ถึง 1/2 วินาที อย่าลืมว่ายิ่งใช้สปีดชัตเตอร์ช้า ๆ ยิ่งได้ภาพแบบ Abstract มากขึ้น จากนั้นหาจุดโฟกัสบนคลื่น และใช้การโฟกัสแบบติดตามวัตถุเวลาที่คลื่นตอนกำลังม้วนตัว ปล่อยปุ่มชัตเตอร์ทันทีที่คลื่นกระทบชายฝั่ง
อีกมุมมองหนึ่งในการถ่ายภาพที่สวยงาม ลองหาโอกาสจับภาพนกที่กำลังบินอยู่ โดยมีฉากหลังเป็นคลื่น ส่วนเวลาที่ควรออกไปถ่ายภาพคือช่วงเช้าและเย็นที่มีสภาพแสงอันยอดเยี่ยม

 

ที่มา contrastly.com

Back to top