The FILTER เรื่องของสิ่งที่อยู่หน้าเลนส์

The FILTER

เรื่องของสิ่งที่อยู่หน้าเลนส์

 


“ บริเวณหน้าเลนส์ถ่ายภาพแต่ละตัวจะมีเกลียวสำหรับใส่อุปกรณ์เสริมที่นิยม
นำหามาสวมไว้ตั้งแต่เริ่มใช้งาน เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน ป้องกันฝุ่นละออง
และป้องกันการเสียเงินหากชิ้นเลนส์ด้านหน้าได้รับการกระแทกรุนแรงถึงขั้นแตก ”

 

          ฟิลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกริ่นถึงข้างต้น ซึ่งทุกวันนี้เป็นที่รู้จักของผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพกันอยู่แล้ว   มักเริ่มรู้จักโดยไม่ตั้งใจจากการซื้อกล้องตัวแรก   โดยมีพนักงานหน้าร้านเป็นผู้ให้คำแนะนำ  จากนั้นจึงเริ่มเรียนรู้เองจนพาไปสู่ฟิลเตอร์อีกหลากหลายชนิด

          ฟิลเตอร์เบื้องต้นที่นักถ่ายภาพควรเริ่มต้นคบเป็นเพื่อน     ลำดับแรกเป็นฟิลเตอร์   ประเภทป้องกัน   (Protect)    คอยปกป้องหน้าเลนส์จากฝุ่นละออง น้ำกระเซ็น และรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ที่มากับแสงอาทิตย์ มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ฟิลเตอร์ UV กับฟิลเตอร์ Protector


1.กรอบฟิลเตอร์มักทำจากวัสดุอลูมิเนียม อัลลอยด์ (Aluminium Alloy)
2.ชิ้นแก้ว เป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องหน้าเลนส์
3.เส้นวงแหวนยึดเลนส์ คอยประกบให้ชิ้นแก้ว กับกรอบไม่แยกจากกัน

 

UV Protector

 

Ultraviolet
          ฟิลเตอร์ยอดนิยมในยุคสมัยหนึ่ง คอยทำหน้าที่ตัดแสงอัลตราไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพ    มักตัดคลื่นแสงตั้งแต่ช่วง 370-680 นาโนเมตร แม้ปัจจุบันกล้องดิจิตอลจะมีฟิลเตอร์ตัดแสงยูวีอยู่หน้าเซ็นเซอร์แล้วก็ยังมีความจำเป็นต่อการลดหมอกแดดที่ส่งผลต่อความคมชัดในภาพ ขณะถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ หรือถ่ายภาพกลางแสงแดด
Protector
          ฟิลเตอร์ยอดนิยมในปัจจุบัน คอยทำหน้าที่ป้องกันรอยขีดข่วน ป้องกันฝุ่นละออง และน้ำกระเซ็น ด้วยผลจากการเคลือบผิวเลนส์หลายชั้น (Multi Coating) โดยการใช้งานจะไม่มีผลต่อสีของวัตถุที่ต้องการบันทึกภาพไม่ว่าในสภาพแสงใด และไม่มีผลลดทอนแสงที่ผ่านเข้าสู่กล้องเลย (ในทางปฏิบัติ)

 

ตัวอย่างแสดงการเคลือบผิว และอัตราการผ่านของแสง(Transmittions)ของฟิลเตอร์ประเภทปกป้อง

 

          ฟิลเตอร์ลำดับถัดมาเมื่อมีความเข้าใจ มีทักษะการถ่ายภาพมากขึ้น การค้นหาสิ่งที่ดีกว่าเสริมเป็นลูกเล่นเข้าไปในภาพ เราเรียกว่า ฟิลเตอร์ ประเภทเทคนิค (Technique) คอยช่วยลดแสง ปรับหรือตัดแสงที่มากับพระอาทิตย์ อาทิ ฟิลเตอร์ Polarize, ฟิลเตอร์ Neutral Density
Polarize
          ฟิลเตอร์ยอดนิยมอีกชิ้นที่นักถ่ายภาพสถาปัตยกรรม วิวทิวทัศน์ มักมีติดกระเป๋า เพื่อช่วยตัดแสงสะท้อนจากใบไม้ พื้นน้ำ กระจก หรือท้องฟ้า ให้สดใส และชัดเจน คล้ายกับเวลาใส่แว่นกันแดด โดยใช้มือหมุนกรอบด้านบนให้ตัดแสงโพลาไรซ์จนกว่าจะพอใจ ผลของภาพที่ได้จะเข้มขึ้น แต่ก็มีอัตราการเสียแสงตั้งแต่ 1-2 สต็อป

 

ตัวอย่างแสดงการเคลือบผิว และอัตราการผ่านของแสง(Transmittions)ของฟิลเตอร์Polarize

Back to top