มหัศจรรย์แสงตะวันในภาพภูมิทัศน์







      การถ่ายภาพภูมิทัศน์ หรือ Landscape เป็นแนวทางการถ่ายภาพประเภทหนึ่งที่มีนักถ่ายภาพให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพื่อบันทึกความงดงามของสถานที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวเก็บกลับมาเพียงภาพถ่าย สิ่งหนึ่งที่เป็นไฮไลท์ของทุกทริปจะพลาดเสียไม่ได้คือการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น กับพระอาทิตย์ตกดิน ภาษานักถ่ายจะเรียกว่า ช่วงทไวไลท์ (Twilight)

      อ.สงคราม โพธิ์วิไล เดินทางบันทึกภาพไปทั่วประเทศแต่ละสถานที่ล้วนไปมาจนนับครั้งไม่ถ้วนจึงมีโอกาสในการพบเห็นความงามในธรรมชาติมากมาย การตื่นเช้ามานั่งเฝ้าแสงแรกของยามเช้าเป็นเรื่องต้องลุ้นว่าพระอาทิตย์จะถูกเมฆบังหรือเปล่า สีสันที่ปรากฏจะสวยอย่างที่ตั้งใจหรือไม่ เพราะเราเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆบนโลกไม่สามารถควบคุมปรากฏการณ์ของธรรมชาติได้ การสังเกต และเฝ้ารอจึงเป็นความสามารถพิเศษของนักถ่ายภาพทุกคน หากแสงผ่านจากเลนส์ไปตกบนเซ็นเซอร์แล้วให้ภาพสวยๆอย่างที่ตั้งใจความเหน็ดเหนื่อยทั้งหมดก็แทบหายไปในทันที




      เคล็ด(ไม่)ลับในการถ่ายภาพช่วงพระอาทิตย์กำลังทอแสงอยู่ที่การวัดแสง และการตั้งค่าการรับแสงของกล้อง โดยตัวกล้งจะถูกวางไว้บนขาตั้งกล้องที่แข็งแรง มั่นคง เพื่อช่วยให้การจัดองค์ประกอบภาพทำได้ง่าย และมีความคมชัดสูง เนื่องจากกล้องจะถูกปรับค่ารูรับแสง(Avperture Value) ให้มีขนาดเล็กส่งผลให้ภาพเกิดระยะความชัดสูง เรียกว่าชัดลึก อาทิ F8, F11 ส่วนความเร็วชัตเตอร์จะตั้งตามค่าการวัดแสงได้จากเส้นขอบฟ้าที่เห็นเป็นสีส้มๆ หากต้องการได้สีท้องฟ้าฉ่ำๆ สีสดๆควรปรับชดเชยแสงไปในโซนมืดลง (อันเดอร์) สำหรับค่าความไวแสง (ISO) จะตั้งไว้ที่ ISO100 เพียงเท่านี้คุณก็มีโอกาสได้สุดยอดภาพภูมิทัศน์ไว้ในคอลเลคชั่นส่วนตัวแล้ว แถม! ท้ายอีกนิดกับการเลือกค่าไวท์บาลานซ์ (WB) อาจไม่จำเป็นต้องตั้งให้ตรงเสมอไปเพราะเสน่ห์ของยามเช้าก็อยู่ที่ความสดของสีสันท้องฟ้าบางครั้งเพี้ยนจากความเป็นจริงบ้างก็ทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นอีกไม่น้อย...

      ติดตามเทคนิคครั้งต่อไปกับกิจกรรมอบรมทักษะการถ่ายภาพด้วยความสุขของ BIG Camera ที่จะสัญจรไปมอบความสุขกันถึง จ.เชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2556 ณ ibis Styles Hotels ท่านที่ต้องการเติมเต็มความรู้งานนี้พลาดไม่ได้!!!

Back to top